สมรรถนะตามสายงานบริการของบรรณารักษ์ห้องสมุด สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Keywords:
สมรรถนะ, ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน, Competency, Tertiary institutionsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ (1) ศึกษาสมรรถนะตามสายงานบริการที่เป็นจริงของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เพื่อศึกษาสมรรถนะตามสายงานบริการที่ต้องการพัฒนาของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ (3) เพื่อศึกษากิจกรรมที่ใช้เพื่อการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานบริการของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในฝ่ายบริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 28 แห่ง สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะตามสายงานบริการทางวิชาชีพที่เป็นจริงของบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนผู้ใช้ให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ที่ห้องสมุดของท่านจัดให้บริการมาก ส่วนระดับสมรรถนะ ทางวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาอยู่ในระดับมากเท่ากันสองด้านคือ การพัฒนาสมรรถนะทางด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพทางห้องสมุดและความเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ
2. สมรรถนะด้านส่วนบุคคลที่เป็นจริงของบรรณารักษ์ตามสายงานบริการพบว่า สมรรถนะด้านการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอยู่ในระดับมาก และสมรรถนะส่วนบุคคลที่ต้องการพัฒนาในระดับมาก คือความสามารถทางด้านการสื่อสาร สามารถพูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
3. ความสำคัญของกิจกรรมที่ใช้เพื่อการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานบริการของบรรณารักษ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัย พบว่ากิจกรรมด้านที่ต้องการพัฒนามากคือการเข้าร่วมประชุม/สัมมนาทางวิชาการในสายวิชาชีพและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการใช้สมรรถนะตามสายงานบริการของห้องสมุดสถาบัน-อุดมศึกษาเอกชนให้เกิดประสิทธิภาพ
Competency in service work of librarians at private Tertiary institutions libraries in Bangkok metropolis and its environs
In this thesis, the researcher investigates (1) the competency of librarians in performing actual service work at the libraries of private tertiary institutions in Bangkok Metropolis and its environs. The researcher also inquires into (2) the desire of the librarians under study to develop greater competency in service work. Finally, the researcher considers (3) activities in which these librarians engage for the sake of further developing their competency in service work.
The research population consisted of librarians working in the service section of libraries at twenty-eight private tertiary institutions.
Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data obtained in terms of percentage, mean and standard deviation.
Findings are as follows:
1. Competency in actual professional service work performed by the librarians under study in an overall picture was at a high level in the aspect of teaching users how to access the information resources provided by the libraries at which they are employed. In respect to the desire of these libraries to develop fuller competency, these desires were at a high level in the two aspects of developing greater competency in respect to basic professional knowledge and overall knowledge of library science.
2. In studying the actual personal competency of librarians in service work, the researcher found that this competency in the aspect of accepting other people’s opinions was at a high level. The desire to develop personal competency at a high level was the desire of these librarians to have communicative ability in English such that their oral, aural, reading and writing levels in English would be at a good level.
3. The activities used in developing competency in service work on the part of the librarians were overall evinced at a moderate level. Insofar as activities conducing to developing higher levels of competency are concerned, it was found that the most pressing need for development is greater participation in professional academic meetings and seminars and others related matters. Greater participation in such activities would be an efficient means of augmenting and enhancing the development of the service work competency of these librarians employed in libraries at private tertiary institutions.
Downloads
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว