รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานห้องสมุด ของมหาวิทยาลัยของรัฐ
Keywords:
ความร่วมมือในการดำเนินงานห้องสมุด, เครือข่ายความร่วมมือ, เครือข่ายห้องสมุด, Library cooperation, Network model, Public UniversitiesAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามรูปแบบเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในปัจจุบัน (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ด้านการดำเนินงานตามรูปแบบเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในปัจจุบัน (3) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของรูปแบบเครือข่ายที่ดำเนินงานกับแนวนโยบายการสร้างระบบเครือข่ายของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 24 แห่ง ได้แก่ ผู้บริหารห้องสมุด ผู้อำนวยการห้องสมุด รองผู้อำนวยการ จำนวน 48 คน ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การดำเนินงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐ มีโครงสร้างและการบริหารงานห้องสมุดแบบกระจายอำนาจชนิดมีการประสานงานกัน ห้องสมุดที่สังกัดสำนักหอสมุดกลางขึ้นตรงต่อสำนักงานอำนวยการ มีนโยบายการบริหารงานที่กำหนดโดยคณะกรรมการประจำห้องสมุดกลาง งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน 50,000,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้การบริการด้านการยืมระหว่างห้องสมุด
2. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานของห้องสมุด แบ่งงาน 3 ด้าน คือ ด้านงานบริหาร ด้านงานเทคนิค และด้านงานบริการ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดมีมุมมองของปัญหาในด้านงานบริหารมากที่สุดคือ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัญหาด้านงานเทคนิค พบว่า มีปัญหาในเรื่องการสำรวจ และจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดและล้าสมัยออกจากห้องสมุด และด้านงานบริการ พบว่า มีปัญหาในเรื่องการประชาสัมพันธ์งานห้องสมุด
3. ความสอดคล้องของรูปแบบเครือข่ายที่ดำเนินงานกับแนวนโยบายการสร้างระบบเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ พบว่า ผู้บริหารมีความคิดเห็นสอดคล้องโดยรวมในระดับปานกลาง
Library Cooperation Network Model for Public Universities
This research aims (1) to study the implementation of a library cooperation network model in public universities (2) to investigate the problems and obstacles when using the library cooperation network model, and (3) to study the consistency between the library cooperation network model and policy of the National Commission on Higher Education in establishing the network.
The population consisted of 48 administrators and 72 librarians working at 24 public university libraries. The research tool was a questionnaire. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The results showed the following
1. The public university libraries had a decentralized structure and administration. The central libraries were under the Office of the Director. The libraries’ policy was made by the central library committee. Each library received a budget of 50,000,000 baht or more yearly. The large portion of the budget was spent on running the interlibrary loan service.
2. There were three aspects of problems and obstacles found in this study, which included administration problems, technical problems, and service problems. Regarding the library administration, most of the problems and obstacles were concerned with personnel, building, and information technology. In term of technical aspects, the problems found most involved surveys and how to get rid of the broken and outdated resources from the library. As for the services aspect, most problems were related to the libraries’ public relations.
3. With regard to the consistency of the network model-with its policy to create the network model system of the National Commission on Higher Education-it was found that the administrators showed their opinion at a moderate level.
Downloads
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว