การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

Authors

  • อินทิรา รอบรู้ นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ รองศาสตราจารย์, ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง, Blended Instructional Model, Self-Knowledge Acquisition

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนที่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองสูงและต่ำ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 43 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการบริหารโครงการงานสารสนเทศ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ANCOVA ผลการทดลองพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มที่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองสูงและกลุ่มต่ำแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของกลุ่มที่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองสูงและกลุ่มต่ำ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ในระดับดีมาก สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองให้กับผู้เรียนได้ทั้งกลุ่มที่มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองสูงและกลุ่มต่ำ

 

Experiment of a Blended Instructional Model for Enhancing Self-Knowledge Acquisition

The purposes of this study were to compare the learning achievement and self-knowledge acquisition of students which were posted high and low self-knowledge acquisition, and to investigate the students’ satisfaction. The samples were 43 third year students studying in the Faculty of Humanities and Social Sciences, Chandrakasem Rajabhat University. They studied on “Project Management for Information Work” in the first semester of academic year 2010. Data were analyzed by using mean, standard deviation, and ANCOVA statistic The results indicated that there was no significant difference at the level of .05 between the learning achievements of high and low self-knowledge acquisition students. There was no significant difference at the level of .05 between the abilities of self-knowledge acquisition of high and low self-knowledge acquisition students. The students rated their satisfactions on the developed instructional model at a “very high” level. The developed model could be used for enhancing self-knowledge acquisition effectively in the both groups of students.

Downloads