การแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Keywords:
การแสวงหาสารสนเทศ, พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ, ความต้องการสารสนเทศ, Information seeking, Information seeking behavior, Information needsAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศ และพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 357 คนได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ทั้ง 5 คณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนใช้ค่าสถิติ เปรียบเทียบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า
1) ด้านความต้องการสารสนเทศ และ พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ อยู่ในระดับมากจำแนกตามประเภททรัพยากรสารสนเทศ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือทั่วไป/ตำราเรียนลำดับที่ 1 หนังสือพิมพ์ ลำดับที่ 2 และงานวิจัย/ดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/ผลงานทางวิชาการ ลำดับที่ 3 ประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมากทุกรายการ ฐานข้อมูลออนไลน์ ลำดับที่ 1 บทเรียนออนไลน์ ลำดับที่ 2 และบทความหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ลำดับที่ 3 ประเภทสื่อโสตทัศน์ความต้องการอยู่ในระดับมากและพฤติกรรม การแสวงหา อยู่ในระดับปานกลาง วีซีดี(ประกอบการเรียนการสอน) ลำดับที่ 1 วีซีดี (บันเทิงคดี) ลำดับที่ 2 และวีดิทัศน์ (ประกอบการเรียนการสอน) ลำดับที่ 3 แหล่งสารสนเทศ ใช้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ลำดับที่ 1 ศูนย์คอมพิวเตอร์ ลำดับที่ 2 และวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ลำดับที่ 3 วิธีการแสวงหาสารสนเทศใช้อินเทอร์เน็ต ลำดับที่ 1 เข้าใช้บริการด้วยตนเองโดยอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสารลำดับที่ 2 ใช้โทรศัพท์ และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ลำดับที่ 3
2) นักศึกษามีความต้องการสารสนเทศ และพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.01
3) นักศึกษาประสบปัญหาและอุปสรรคด้านความต้องการและพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางพบว่า ขาดการประชาสัมพันธ์ว่ามีสารสนเทศในเรื่องใดบ้างที่ให้บริการ ลำดับที่ 1 ไม่พบตัวเล่มหนังสือบนชั้น ลำดับที่ 2 ขาดการบริการแนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสมแก่ผู้ใช้ และไม่เข้าใจภาษาที่เป็นคำทับศัพท์เฉพาะทาง ลำดับที่ 3
Information Seeking of Students at Suan Dusit Rajabhat University
This study aimed to study the needs of information and the behaviors of information seeking of students at Suan Dusit Rajabhat University. The sample consisted of 357 students selected from 5 faculties. The instruments used were questionnaires. The statistics used to analyze the collected data were percentage, mean, standard deviation, analysis of variance, and Scheffe’s post hoc comparison.
The findings were as follows:
1) The needs of information and the behaviors of information seeking were at high level. The types of information resources could be classified as follows: The printed media, it was found that the first rank was books ant texts, the second rank was newspapers and the third rank was researches, dissertations, theses, and academic documents. The electronic media was at high level. The first rank was online database, the second rank was online learning and the third rank was articles from electronic newspapers. The need of audio-visual media was at high level and the behavior in seeking for information was at middle level. The first rank was VCDs for learning and instruction, the second rank was VCDs on fiction, and the third rank was videos for learning and instruction. The information resources, it was found that the first rank was at the library of Suan Dusit Rajabhat University, the second rank was at computing center, and the third rank was from radio, television and newspapers. The methods of information seeking, it was found that the first rank was searching from internets, the second rank was reading from books, newspapers and journals, the third rank was using telephone and e-mails.
2) The needs of information and the behaviors of information seeking were significantly different at 0.01.
3) The problems and obstacles of the needs and the behaviors of information seeking were at middle level in overall. The first problem was that the kinds of information were not publicized, the second problem, the books couldn’t be found on the shelves, and the third problem, the services on suggestion about appropriate information resources for the users were not introduced. In addition, the technical terms were also the problem.
Downloads
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว