การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารทางด้านจิตวิทยา ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2551

Authors

  • ยุพิน กาญจนารัตน์ นักศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

การวิเคราะห์เนื้อหา, วารสารจิตวิทยา, A Content Analysis, Psychology Journals

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาวารสารทางด้านจิตวิทยา ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2551 ในด้าน ผู้ผลิต ผู้เขียน ประเภท เนื้อหาบทความ ภาษา ภาพประกอบ วิธีการเขียน ลักษณะการเผยแพร่ แหล่งอ้างอิง แหล่งที่มีวารสารเผยแพร่เพื่อให้บริการ วัตถุประสงค์ของบทความ และวัตถุประสงค์ของวารสาร (2) ศึกษาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความวารสารกับวัตถุประสงค์ของวารสาร (3) ศึกษาแนวโน้มของเนื้อหาบทความวารสารทางด้านจิตวิทยา ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2551 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ วารสารภาษาไทยทางด้านจิตวิทยาในปี พ.ศ. 2542-2551 จำนวน 6 รายชื่อ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,091 บทความ สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตวารสารส่วนใหญ่เป็นสมาคมวิชาชีพและวิชาการ บทความมีชื่อผู้เขียนชัดเจน ซึ่งแต่ละบทความมีผู้เขียนคนเดียว และมีสถานภาพเป็นอาจารย์มากที่สุด ประเภทของบทความเป็นบทความวิจัยมากที่สุดรองลงมาคือบทความทางวิชาการ สาขาจิตวิทยาการกีฬาเป็นเนื้อหาที่พบมากที่สุด ภาษาของบทความส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาไทย ภาพประกอบพบเป็นตารางมากที่สุด วิธีเขียนบทความเป็นบทความวิจัยรองลงมาเป็นการเขียนแบบบรรยาย ลักษณะการเผยแพร่เป็นสิ่งพิมพ์มากที่สุด แหล่งอ้างอิงส่วนใหญ่เป็นหนังสือและวารสารตามลำดับ แหล่งที่มีวารสารเผยแพร่เป็นสถาบันการศึกษามากที่สุด ส่วนใหญ่บทความมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับวารสารที่มีวัตถุประสงค์ปรากฏทุกรายชื่อ ซึ่งพบว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้มากที่สุด เนื้อหาของบทความกับวัตถุประสงค์การจัดทำวารสารสอดคล้องกัน แนวโน้มเนื้อหาบทความด้านจิตวิทยาส่วนใหญ่มีค่าแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสาขาจิตวิทยาการกีฬามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากที่สุดรองลงมาคือสาขาจิตวิทยาคลินิก ส่วนสาขาที่มีแนวโน้มลดลงมากที่สุดคือ จิตวิทยาพัฒนาการ และสาขาที่มีแนวโน้มคงที่คือ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาทดลอง

 

A Content Analysis of Psychology Journals in the Period between 1999 and 2008

In this thesis, the researcher conducts (1) a content analysis of psychology journals published in the period between 1999 and 2008.The aspects analyzed are producers, writers, types of content, language, illustrations, writing styles, characteristics of distribution, reference sources, and places in which the journals are located for service users. Also analyzed (2) are the objectives of articles and journals and whether the contents of articles match journal objectives. Finally, examined are (3) the content trends of the articles published in the aforementioned psychology journals. The research population consisted of six Thai psychology journals published between 1999 and 2008. The sample population consisted of 1,091 articles taken from these journals.

The statistical technique of percentage was used by the researcher in analyzing the data collected.

Findings are as follows :

Most producers of the journals were academic and professional associations. The names of the authors of the articles were clearly displayed. All of the articles had a single author. Most of the authors were lecturers.

Most of the articles were of the research article type. Next, in descending order, were articles of the academic article type. As for contents, most frequently found were sport psychology articles. Thai was the language of most of the articles. Most frequently, illustrations were in the form of tables.

Research article writing style was the style of writing most frequently found in the articles. Next, in descending order, was the narrative writing style.

The most frequent mode of distribution was as printed matter. Reference sources were book and journals. The most frequent places in which the journals were located were educational institutions.

Most of the articles exhibited clear objectives. All of the journals under study stated objectives. The most frequently stated objective was to disseminate knowledge. Article contents were congruent with the objectives of the journals.

There was a tendency for psychological content to increase in the articles. Of the branches of psychology, sport psychology exhibited the greatest tendency to increase. Next, in descending order, was clinical psychology. Developmental psychology displayed the greatest tendency to decrease. The tendency shown by social psychology and experimental psychology was a tendency to remain the same. 

Downloads