ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยรูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
การพัฒนาตนเอง, การประเมินสมรรถนะ, Competency, Assessment ModelAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาด้วยรูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะการพัฒนาตนเองตามที่ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 86 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ และแบบสอบถามปลายเปิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนการศึกษาพิเศษมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนการศึกษาพิเศษ จำแนกตาม เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา พบว่า มีความต้องการพัฒนาตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้ง 4 ตัวแปร สำหรับอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้บริหารต้องการพัฒนาตนเองในด้านการเป็นสมาชิกวารสารที่เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ การศึกษาดูงานโรงเรียนการศึกษาพิเศษในต่างประเทศ
Needs for Self-Development of the Educational Institution Administrators by Using the Self-Development Competency Assessment Model of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission in Special Education Schools under the Bureau of Special Education, Office of the Basic Education Commission
The research objectives were1) to study the needs for self-development of the school administrators and 2) to compare the self-development needs of the school administrators by using the self-development competency assessment model of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Commission in special education schools under the Bureau of Special Education, Office of the Basic Education Commission. The sample of were86 school administrators from the special education schools under the Bureau of Special Education, Office Education Commission by random sampling. The five-point rating scale questionnaire and the open-ended questionnaire were used as research instruments for gathering data. The data were analyzed by computer program for frequency, percentage, means, standard deviation and t-test.
The results revealed that 1) The needs of the self-development of the school administrators were at the high level 2) The comparisons of the mentioned needs categorized by gender, age, educational background, and experiences on administrating educational institutions were significantly different at the 0.05 level. The problem was that the administrators wanted to of develop themselves-by being the members of journals on special education and to take an educational trip for special education schools in abroad.
Downloads
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว