การศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Authors

  • สุภาพร ศรีหามี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชิสาพัชร์ วงษ์จินดา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา

Keywords:

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์, โรงเรียนมัธยมศึกษา, Spatial Ability, Secondary School

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 270 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนิวตัน (Newton, 2009) ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อมีค่าความยาก (p) ระหว่าง .24-.64 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง .27-.79 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .855 ตัวแปรคือ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกตามเพศและระดับชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลการศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยรวมนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงที่สุด (M=25.56) คิดเป็นร้อยละของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 63.90 รองลงมา คือ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (M=18.97) คิดเป็นร้อยละของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 47.43 และความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (M=18.45) คิดเป็นร้อยละของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.13ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างนักเรียนหญิงกับนักเรียนชายพบว่าโดยรวมนักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ นักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน

3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างระดับชั้นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายพบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาในระดับชั้นต่างกันมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงได้เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6


A Study of Spatial Ability of Upper Secondary Education Students at Demonstration Secondary School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University

The purpose of this descriptive research was to investigate and compare spatial ability of upper secondary education students at Demonstration Secondary School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The sample group included 270 secondary education students grade 10-12 obtained through stratified random sampling. Data was collected using multiple choices of Newton (2009)-based spatial ability test with 40 items the difficulty value (p) and discrimination (r) of which measured .24-.64 and .27-.79 respectively. The reliability of the whole test measured .855. The research variable was defined as spatial ability of upper secondary education students on basis of sex categorization and educational level. Data was descriptively and statistically analyzed in mean comparison, t-test, and One-Way ANOVA.

The findings revealed as follows:

1. The spatial ability of upper secondary education students grade 10 was found as the highest mean group (M=25.56), or 63.90 percent followed by students grade 12 (M=18.97), or 47.43 percent and students grade 11 (M=18.45), or 18.45 percent.

2. After comparing the mean of spatial ability between male and female students, spatial ability was different without significance, namely there was no differences in spatial ability between these two groups of sample.

3. Educational levels correlated with difference in spatial ability significantly at .01. Scheffe’s Pair Wise Comparison of Mean Method showed that students grade 10 had higher spatial ability than students grade 11 and 12 significantly at .01. 


Downloads

Published

2016-04-20