วัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ ประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่าในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

Authors

  • ภัทระ คมขำ อาจารย์ประจำภาควิชาดุริยางคศิลป์ (ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ดนตรีไทใหญ่ประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่า, รัฐชาน, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา, Tai Yai’s Musical of Percussion and Winded Musical Instruments, Shan State, Republic of the Union of Myanmar

Abstract

งานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีไทใหญ่ ประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่า ในรัฐชาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา พื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม เมืองสีป่อ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ จังหวะ กลวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีและเครื่องเป่า และทำการรวบรวม วิเคราะห์ ทำนองเพลงที่มีความเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ได้แก่ มองแว็ง ปาตยา และเช่าลงปั๊ด (กลองชุดในวงจ้าดไต) สำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าไม่ปรากฏในเมืองสีป่อ 

มองแว็ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับฆ้องวงของไทยแต่วางเรียงเป็นแผง บรรเลงด้วยการตีสลับมือซ้ายขวาและตีพร้อมกัน 2 มือ ตำแหน่งการวางเครื่องดนตรีจะตั้งวางอยู่ด้านซ้ายมือของวงจ้าดไต ทำหน้าที่เป็นเครื่องดนตรีดำเนินทำนอง ปาตยา ลักษณะทางกายภาพคล้ายกับระนาดเอกเหล็กของไทย วิธีการตีมีรูปแบบเดียวกับมองแว็ง ตั้งอยู่บริเวณกลางวงจ้าดไตและอยู่ทางด้านขวามือของมองแว็ง วงจ้าดไตบรรเลงประกอบการแสดงลิเกจ้าดไตปรากฏในงานปอย หรืองานบุญ คณะลิเกจ้าดไตที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองสีป่อมี 2 คณะคือ คณะอ๋ายหอมจอมปืน และคณะหมอกก๋อนไต

การวิเคราะห์บทเพลงทั้ง 5 เพลงได้แก่เพลงขึ้นใหญ่ใหม่สูง เพลงต่างสูต่างเฮา เพลงอ่องหย่าอ่องจอง เพลงกวามไตหลงและเพลงกวามล่องคง พบการใช้รูปแบบจังหวะ 2 ลักษณะ รูปแบบทำนองจ้าดไตพบการเพิ่มทำนองในส่วนท้ายวรรคเพลง พบการซ้ำทำนองในช่วงท้ายของแต่ละวรรค ส่วนทำนองเพลงกวามไตหลงและเพลงกวามล่องคง ซึ่งเป็นจังหวะ จี 1 เป็นการบรรเลงประกอบร้องแบบลอยจังหวะ


Tai Yai’s Musical Performing Culture of Percussion  and Winded Musical Instruments in Shan State of the Republic of the Union of Myanmar 

This research is on the performance of percussion and wind musical instruments of the Tai Yai people in the Shan State, Republic of the Union of Myanmar, the field data

having been collected in Meuang Si Poh. Its objectives are to study the physical characteristics, rhythm and techniques of playing percussion and wind musical instruments and also to collect related melodies. The field study found several percussion instruments, for example a Mong Vaeng, a Pataya and a set of drums in the Chad Tai band, known as a Chao Long Pad. No wind instruments were found in Meuang Si Poh.

A Mong Vaeng resembles a Thai gong circle but the metal discs are placed next to one another in a straight line. It is played by striking it alternately with the left and right hand and sometimes with both hands at the same time. This musical instrument is located on the left hand side of the Chad Tai band. It is meant to produce the melody of the song. A Pataya resembles a Thai soprano metallophone in appearance. It is played by being struck like a Mong Vaeng. It is located in the middle of the Chad Tai band and on the right of the Mong Vaeng. The Chad Tai band plays to accompany the performance of the Likay Chad Tai in a merit making ceremony. There are two troupes of Likay Chad Tai in Meuang Si Poh - the Ai Hom Chom Peun and the Mok Kon Tai troupes.

The analysis of 5 songs - “Kheun Yai Mai Soong”, “Tang Su Tang How”, “Ong Yah Ong Chong”, “Kwam Tai Long” and “Kwam Long Kong” found that these songs use 2 kinds of rhythm. It was found that more melodies are added to the endings of the songs and also that repeated melodies are present at the ending of each section. The melodies of “Kwam Tai Long” and “Kwam Long Kong” which use the G 1 rhythm are played to accompany singing in a floating rhythm style. 


Downloads