การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสม เพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา

Authors

  • พยุง ใบแย้ม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • พนม พงษ์ไพบูลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี
  • กรัณย์พล วิวรรธมงคล อาจารย์ประจำกลุ่มหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี

Keywords:

แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น, รูปแบบที่เหมาะสม, สถานศึกษาระดับประถมศึกษา, Community resources, Appropriate model, Primary schools

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม สำหรับสถานศึกษาในระดับประถมศึกษา วิธีการวิจัยใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เชิงปริมาณ (Quantitative methods) และเชิงคุณภาพ (Qualitative methods) กลุ่มตัวอย่างเลือกเจาะจง (Purposive sampling) สถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการใช้แหล่งเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์และสอบถาม บุคลากร ในสถานศึกษา 5 แห่ง จำนวน 110 คน ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน และทดลอง (Try out) นำรูปแบบไปใช้กับบุคลากรในสถานศึกษาจำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) (%) และวิเคราะห์ข้อมูลบรรยายเชิงคุณภาพ (Content analysis)

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ที่มีความเกี่ยวข้องประสานสัมพันธ์กัน ได้แก่ การบริหารการศึกษาอย่างมีคุณภาพ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คุณภาพของผู้เรียนโดยการศึกษาค้นคว้า ผู้ปกครองให้การสนับสนุน การนิเทศส่งเสริมการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย และการให้บริการแหล่งเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าทัน 2) รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสม ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการวางแผน (Planning) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นการจัดการเรียนรู้ (Instructional) ขั้นการให้บริการ (Service) ขั้นการเชื่อมโยงความรู้สู่สากล (Linked to global) ขั้นพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Development) และขั้นประเมินผลและเผยแพร่ (Asses and spreads) และ 3) ประสิทธิภาพรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้มีความเหมาะสม ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญมีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด ( \inline \bar{X} =4.79, S.D.=2.94) การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด (ร้อยละ 100) และทดลอง (Try out) นำรูปแบบไปใช้กับบุคลากรในสถานศึกษามีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด ( \inline \bar{X} =4.79, S.D.=2.94)

 

The Development Model of Appropriate Community Resources Utilization for Primary School

This research aimed to develop an appropriate model of community resources utilization for primary schools. The methodology applied two mixed methods namely quantitative and qualitative approaches. The schools were purposively selected by considering the achievement of resources utilization. The data were collected by means of qualitative interviews and questionnaires from 5 schools, 7 scholars 110 administrators teachers and students 20 experts. And tryout from 5 schools, 30 administrators and teachers. The data were synthesized by mean and standard deviation. Descriptive qualitative method was also applied. The research findings were as follows. 1) The significance of 6 each characteristics were found. The administration the instructional, the student, the parental, the supervision and the service.2) The appropriate model of 7 each characteristics were found. The planstrategy, analysis of current, teaching led to the construction of section, quality students to learn, providing the development of learning and evaluation and published sources. learn to organizations that reach all learners. Learning to communicate linked to globalization. 3) The tryout of developed model effective form of learning is appropriate. Experts estimate form Performing at the highest level ( \inline \bar{X} = 4.79, SD = 2.94), focus group (focus group discussion) by experts. Performing at the highest level (100 percent ) and experimental (try out) the form to the school personnel in the most efficient level (\inline \bar{X} = 4.79, SD = 2.94).

Downloads