Art Activity for Children Enhance Creative Thinking

Authors

  • Somchai Promsuwan

Keywords:

Creative Thinking, Imagination, Teaching Art for Children

Abstract

เป็นที่ยอมรับกันว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ควรมี นักจิตวิทยาหลายท่านยอมรับว่าความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นคุณสมบัติที่จะก่อให้เกิดการสร้างสิ่งใหม่ ๆ  ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ กระบวนการ หรือ ความงาม ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต การขาดความคิดสร้างสรรค์จะเกิดผลตรงกันข้าม ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติติดตัวมาแต่กำเนิด มีกระบวนการก่อเกิดที่ชัดเจน มีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดเรียงตามลำดับ แยกออกมาจากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สมองมีความคล่องตัวในการคิด คุณสมบัติเหล่านี้เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่จะไม่พัฒนา ฉะนั้นควรได้รับการส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งเป็นวัยที่เหมาะสม สมองพร้อมจะเรียนรู้และเก็บไว้เป็นความสามารถในวัยที่โตขึ้น เราจะพบว่าบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะเฉพาะบุคคลหลายประการ เป็นการยากที่จะให้ลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้รับการฝึกฝนที่ดี และต่อเนื่อง การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมและมัธยม มีหลักสูตรหลายวิชาที่สำคัญต้องให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในสังคมเมื่อโตขึ้น หลาย

การเรียนรู้ข้อเท็จจริงแห่งชีวิตจะเข้ามาแทนที่ ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งคือ วิชาศิลปะโดยเนื้อแท้ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ในสังคมได้ แต่ศิลปะจะสร้างบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ เมื่อคุณสมบัตินี้ติดตัวถึงวัยผู้ใหญ่ ถูกนำไปใช้คู่กับความรู้ระดับสูงในสาขาต่าง ๆ  ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่ง แปลกใหม่  ที่เป็นประโยชน์ในสังคมได้อย่างไร้ขอบเขต

การสอนศิลปะในระดับประถมและมัธยมตอนต้น ควรคำนึงถึงประเด็นสำคัญ 3 ประการดังนี้

  1. ไม่เน้นการเลียนแบบเหมือนจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว รูปร่าง สี
  2. เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้จินตนาการของตนเองมากที่สุด
  3. ไม่ควรให้คะแนนจากความเหมือน ความสวย ความเป็นจริง แต่ควรให้คะแนนจากจินตนาการความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร

รายวิชาจึงเป็นการเรียนรู้ข้อเท็จจริงในแต่ละด้าน ฉะนั้นการสอนจึงมุ่งให้เด็กรู้และจดจำข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ ละเลยการสอนเรื่องการนำไปใช้และการคิดวิเคราะห์  แนวทางเช่นนี้ทำให้เด็กขาดการกระตุ้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในวัยที่เหมาะสมอย่างน่าเสียดาย  แต่มีบางรายวิชา เช่น วิชาศิลปะซึ่งทั้งหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา ได้กำหนดเป้าหมาย พันธกิจไว้ชัดเจนข้อหนึ่งว่า เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า วิชาศิลปะเป็นวิชาที่สามารถส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กได้ และต้องส่งเสริมในวัยเด็ก เป็นวิชาที่เหมาะสมที่สุดในระดับประถมและมัธยมต้น เหตุผลก็คือ เป็นวิชาที่ไม่มีถูกจริง ไม่มีผิดจริง ไม่มีรูปแบบตายตัวต้องทำตาม กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะเป็นกระบวนการเดียวกันกับกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นเรื่องง่ายที่ การสร้างงานศิลปะจะส่งเสริมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในวัยเด็ก และที่สำคัญธรรมชาติของเด็กพร้อมที่จะสนุกกับจินตนาการบนกิจกรรมศิลปะ แม้ครูไม่สอนเด็กก็จะสร้างสรรค์เองที่บ้าน ผ่านเข้าสู่วัยมัธยมปลายแล้วจินตนาการไร้ขอบเขตเริ่มหายไป  

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. ซัคเซส มีเดีย.

จันทริจิรา นที. (2548). ผลการจัดกิจกรรมซินเนคติคส์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ปริญญ์ ทนันชัยบุตร. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทัศนศิลป์เพื่อพัฒนาความคิด สร้างสรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

มนูญ ตมะวัฒนา. (2532). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. ธีระการพิมพ์.

อารี พันธ์มณี. (2547). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. ใยไหม เอดดูเคท.

อารี รังสินันท์. (2528). ความคิดสร้างสรรค์. แพร่พิทยา.

Guilford, J. P. & Hoepfner, R. (1950). The Analysis of intelligence. McGraw-Hill.

Mason, P. (1960). The Knowledge - creativity. Cambridge University Press.

Wallach, M. A. & Kogan, N. (1965). Model of thinking in young children. Rinchart and Winston.

Downloads

Published

2023-11-03

Issue

Section

บทความวิชาการ