การศึกษากระบวนท่ารำ เพลงดำเนินพราหมณ์ในการแสดงโขน พระราชทาน ตอน ศึกมัยราพณ์ : A Study of the Sacred Music Damneun Brahm from the Royal Khon Performance Episode: Battle of Mayarap

Authors

  • สันติ เสงี่ยมงาม สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ชนัย วรรณลี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • นิวัฒน์ สุขประเสริฐ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Keywords:

กระบวนท่ารำ, เพลงดำเนินพราหมณ์, โขนพระราชทาน, ศึกมัยราพณ์

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์       2) ศึกษากระบวนท่ารำเพลงดำเนินพราหมณ์ที่ใช้ในการแสดงโขนพระราชทาน ตอนศึกมัยราพณ์ 3) วิเคราะห์โครงสร้างท่ารำเพลงหน้าพาทย์ดำเนินพราหมณ์ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารทางวิชาการด้านดนตรี นาฏศิลป์ การสัมภาษณ์ และวิธีการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ จำนวน 7 คน

        ผลการวิจัย พบว่า 1) เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในวรรณกรรมการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ เพลงหน้าพาทย์แต่ละยุคสมัย ประกอบด้วย สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏเพลงหน้าพาทย์ทั้งหมด 20 เพลง สมัยกรุงธนบุรี ปรากฏเพลงหน้าพาทย์ทั้งหมด 24 เพลง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปรากฏเพลงหน้าพาทย์ทั้งหมด 41 เพลง และสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏเพลงหน้าพาทย์ทั้งหมด 45 เพลง 2) กระบวนท่ารำเพลงดำเนินพราหมณ์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยกระบวนท่ารำไม้เดิน 4 ไม้เดิน ส่วนที่ 2 ประกอบด้วยกระบวนท่ารำไม้เดิน 8 ไม้เดิน ส่วนที่ 3 กระบวนท่ารำในเพลงรัว 3) กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์ดำเนินพราหมณ์ มีโครงสร้างท่ารำ ส่วนที่ 1 โครงสร้างท่ารำมี 4 ท่า ประกอบด้วย ท่าที่ 1 (ท่าหงายมือต่ำ) ท่าที่ 2 (ท่าแทงมือตั้งวงบน) ท่าที่ 3 (ท่าผาลา) ท่าที่ 4 (ท่าจีบยาว) ส่วนที่ 2 มีโครงสร้างท่ารำ 1 ท่า ได้แก่ท่าสูง ส่วนที่ 3 มีโครงสร้างท่ารำ 1 ท่า คือท่าพิสมัยเรียงหมอน ทั้งนี้ในโครงสร้างท่ารำยังสอดคล้องกับท่ารำแม่บทของทางละคร

 

Abstract

        The objective of this research is to 1) study the sacred music used in the Ramakien literature; 2) study the choreography of the sacred music Damneun Brahm, which is used in the Royal Khon Performance Episode: Battle of Mayarap; 3) analyze the dance positions’ structure of the Damneun Brahm music. It is a qualitative research based on the study of academic literature about music and dramatic arts, in addition to interviews and a group discussion between 7 professionals in the field of literature, music and dramatic arts.

        The results of the research are as follows: 1) the sacred music used in the Ramakien literature of khon differs from one period to another. During the Ayutthaya period, there were 20 sacred musical compositions; during the Thon Buri period, there were 24; during the reign of His Majesty the King Rama I, there were 41 and during the reign of His Majesty the King Rama II, there were 45. 2) The choreography of the sacred music Damneun Brahm can be divided into 3 parts. The first part consists of 4 dance steps, the second part consists of 8 dance steps and the third part consists of the choreography of the sacred music Rua. 3) The choreography of the sacred music Damneun Brahm has a dance positions’ structure that can be divided into 3 sections. In the section 1, there are 4 dance positions, including gnai meu tam, thaeng meu tangwong bon, phala and jeeb yaow. In the second section, there is only one dance position called sung. In the third section, there is also only one dance position called phisemairiangmon. The dance positions’ structure is consistent with the one found in the maebot of Thai dramatic arts.

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิจัย