การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคใต้ตอนบน : Development of Academic Management Model of Basic School Administrators under the Upper South Primary Educational Service Area Office
Keywords:
การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประถมศึกษาAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) ทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการ และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคใต้ตอนบนวิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้มี 4 ขั้นตอน 1) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และศึกษานิเทศก์ รวม 9 คน 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยจัดทำรูปแบบฉบับร่าง ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ รวม 22 คน ปรับปรุงรูปแบบ จัดทำคู่มือประกอบการดำเนินตามรูปแบบ และประเมินความเหมาะสมของคู่มือ 3) การทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการกับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 66 (บ้านนาเนียน) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน และ 4) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยการแจกแบบสอบถาม จำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แจกแบบสอบถามเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ รวม 22 คน และส่วนที่ 2 แจกแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการและเป็นครู รวม 190 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคใต้ตอนบน 38 โรงเรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 2) ขั้นตอนการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา 3) ภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ และ 4) กระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 2. การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) องค์ประกอบด้านภาวะผู้นำทางการเรียนการสอน 2) องค์ประกอบเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานเป็นทีม 3) องค์ประกอบด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการ และ 4) องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นนี้มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. การทดลองใช้พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการมีพฤติกรรมและแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับบทบาทผู้นำทางวิชาการและบริบทของสถานศึกษาและบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและขั้นตอนการทำงานเป็นทีม สามารถปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนได้อย่างเป็นรูปธรรม 4. การประเมินพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการพบว่ามีความเป็นไปได้และเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop academic management model 2) create academic management model 3) test academic management model and 4) evaluate academic management model of basic school administrators under the upper southern primary educational service area office. There were 4 steps in conducting this research, they were 1) developing academic management model by studying papers, related research and interviewing 9 school directors, expertise and educational supervisors 2) creating academic management model by creating draft model, followed by examine the suitability and feasibility from 22 school administrators, teachers and expertise, updating model, creating manual, and evaluating the suitability of the manual 3) testing developed academic management model by testing with 15 school directors and teachers who had been working at Thairath Wittaya 66 school (Bannanian) which was a qualifying school and 4) evaluating developed academic management model by distributing questionnaires which divided into 2 parts; they were: Part 1 questionnaires for assessing suitability and feasibility of developed academic management model from 22 school directors, teachers and expertise and Part 2 questionnaire for evaluating developed academic management model from 190 school directors, head of academic affairs and teachers who had been working at 38 schools under the upper southern primary educational service area office.
The findings were found that 1.The development of the academic management model had four components (1) teaching development (2) teamwork process in schools (3) mission and scope of academic work and (4) academic management in schools. 2.The creation of academic management model consisted of four main components (1) leadership elements in teaching and learning (2) elements of the teamwork process (3) elements of mission and the scope of academic work and (4) elements of academic management process which this model had a very good level of evaluation. 3.The experimental developed academic management model resulted in the behaviors of the administrators and academic supervisors corresponding to the academic leadership roles and school context and school staffs. Also, relevant people were knowledgeable about the principles and procedures of teamwork and able to perform concrete activities in a concrete manner. 4.The evaluation of developed academic management model was feasible and appropriate at a high level.
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว