แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา : Approach to the Development of Supportive Staff of Bansomdejchaopraya Rajabhat University

Authors

  • บุษบงค์ วงษ์พันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Keywords:

แนวทางการพัฒนา, บุคลากรสายสนับสนุน, .

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ใน 4 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านการดำเนินงานพัฒนาบุคลากร ด้านการฝึกอบรม และการศึกษาดูงาน ด้านการประชุมสัมมนา ด้านการลาศึกษาต่อ 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกตาม เพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert’s rating scale) และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบ t-test

ผลการวิจัย พบว่า

          1) แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการฝึกอบรม และการศึกษาดูงาน อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการลาศึกษาต่อต่ำสุดอยู่ในระดับปานกลาง

          2) การเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำแนกตาม เพศ พบว่าภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

 

Abtract

             The purposes of this research were 1) to study the approach to the development of supportive staff of Bansomdejchaopraya Rajabhat University in 4 aspects, i.e., implementingstaff development, training and technical visit, seminar, and pursuing studies 2) to compare the approach to development of supportive staff of Bansomdejchaopraya Rajabhat University on basis of sex. The sample group included 275 supportive staff. Data were collected using Likert’s rating scale questionnaire and Cronbach’s Alpha for reliability. Data were statistically analyzed using percentage, MEAN, standard deviation, and t-test.

          The findings revealed as follows.

          1) The approach to development of supportive staff of Bansomdejchaopraya Rajabhat University was generally found at the high level. After item analysis, implementing staff development was rated with the highest MEAN followed by training and technical visit, and pursuing studies as the one with the lowest MEAN.

          2) Those who had different sex had the different approach to development of supportive staff of Bansomdejchaopraya Rajabhat University either in overview or in individual items at significant level 0.05.

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิจัย