การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ตำบลถ้ำรงค์ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี : The Participation in the Management of Sustainable Tourism: A Case Study of Tham Rong Sub-District Ban Lat District Phetchaburi Province

Authors

  • จริยาภรณ์ เจริญชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Keywords:

การมีส่วนร่วม, การจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4) เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน โดยค่า t-test การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และการสัมภาษณ์โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อหาแนวทางจากระดับหัวหน้าส่วนต่าง ๆ จำนวน 12 คน โดยใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)  

        ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมาก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารบ่อยครั้งในเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ส่วนระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.08) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ แตกต่างกันมีความรู้ ความเข้าใจการรับรู้ข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 มีการเสนอให้จัดตั้งกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวและศึกษาดูงาน ร่วมกับเครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่

 

 

Abstract

        The purposes of this research were 1) to study knowledge understanding and information  exposure of public participation in sustainable tourism management 2) to study level of public participation in sustainable tourism management 3) to compare individual, knowledge, understanding and information exposure factor with public participation in sustainable tourism management 4) to submit an appropriated proposal in public participation in sustainable tourism management. This research was quantitative mixed method research and qualitative research. There were 359 samples. Data was collected using questionnaire. Data was statistically analyzed in percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-distribution, one way analysis of variance and focus group discussion with 12 sector head by using triangulation data check.

        The finding revealed that almost samples have knowledge understanding in public participation in sustainable tourism management. They always get information exposure in public participation in sustainable tourism management. Public participation in sustainable tourism management in generally was in middle level (X=3.08). Samples at difference in aged educational level career and income had difference knowledge understanding information exposure and public participation in sustainable tourism management as significant statistic at 0.05 0.01 level. Suggestions were to establish community enterprise in tourism and filed trip with network of educational institution in the area.

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิจัย