การเล่นจำอวดสวดศพ : The Comedian To Play For Funeral
Keywords:
การเล่น, จำอวดสวดศพAbstract
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาที่มา รูปแบบ โครงสร้างการเล่นจำอวดสวดศพและวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างการเล่นจำอวดสวดศพ คณะนายทองเหมาะ คชวงษ์ อำเภอสามโก้จังหวัดอ่างทอง มีวิธีการดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สังเกต และบันทึกภาพจัดเก็บข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่าการเล่นจำอวดสวดศพคณะนายทองเหมาะ คชวงษ์ เป็นการเล่นอย่างหนึ่งที่มีการเลียนแบบการสวดพระอภิธรรมของพระสงฆ์ ที่มีการเล่นเฉพาะงานอวมงคล วัตถุประสงค์ในการเล่นเพื่อให้ความสนุกสนานแก่ผู้มาร่วมงานไม่ให้เกิดความโศกเศร้า คลายทุกข์แก่คณะเจ้าภาพ ได้รับความรู้เรื่องการเล่นจำอวดสวดศพ โดยการอาศัยครูพักลักจำ จากการที่มีคณะมาเล่นในชุมชน แล้วชักชวนรวมกลุ่มเพื่อนฝึกซ้อมการเล่นจำอวดสวดศพ นำบทพระธรรมมาใช้ในการสวด 2 บท คือ บทพระอภิธรรม และบทพระมาลัย มีรูปแบบการเล่นจำอวดสวดศพ 6 รูปแบบ 1. การบูชาพระรัตนตรัย 2. การสวดบทพระอภิธรรม 3. การสวดบทพระมาลัย 4. ผู้เล่นที่มีมากกว่า 4 คน 5. ลักษณะของผู้ขึ้นต้นบทสวด 6. การเล่นออกลำนำนอกบทพระมาลัย มีโครงสร้างในการเล่นจำอวดสวดศพ 3 ลำดับ 1. การเริ่มบูชาพระรัตนตรัย 2. การสวดเนื้อพระธรรม 3. การสวดทำนองก่อนเริ่มออกลำนำนอกบทพระมาลัย มีอุปกรณ์ประกอบการเล่นจำอวดสวดศพ 4 อย่าง 1.ตาลปัตร 2. หีบพระธรรม 3. บทพระมาลัย 4. กลองทอม ลักษณะการเล่นจำอวดสวดศพที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะนายทองเหมาะ คชวงษ์ การนั่งนั้นจะไม่นั่งบนร้านหรือเตียงจะนั่งที่พื้นบริเวณหน้าเครื่องตั้งหน้าศพโดยใช้ผู้เล่น 4 คนขึ้นไปนั่งล้อมรอบหีบพระธรรม ในการสวดแต่ละบทนั้นจะผลัดกันขึ้นต้นบทสวด การแต่งกายนั้นแต่งกายตามสมัยนิยม ใส่สีไว้ทุกข์ (สีขาวหรือดำ) ใช้การกระทุ้งตาลปัตรในการให้จังหวะ โดยจะใช้แค่ในบทพระอภิธรรม ภายหลังมีการนำเอากลองทอมเข้ามาใช้ประกอบจังหวะในบทร้องออกทำนองต่างๆ เพลงที่เพิ่มเติมเข้ามาคือเพลงลูกทุ่ง โดยได้รับอิทธิพลมาจากสภาพสังคมรอบข้าง เป็นส่วนหนึ่งในบริบทของสังคม
Abstract
The objectives of this thesis are to study history, pattern, structure of how to play the comedian for funeral and analyzed its functions in playing of Mr. Thongmoh Kajawongse's band in Sam-go district, Angthong province. Research methodology is qualitative research by studying from textbooks and related literatures, interviewed the honorable specialists, observation and video recording data.
The studying found that to play the comedian for funeral of Mr. Thongmoh Kajawongse's band be the one of copying the pray of funeral by monks, will play only in the misfortune event by having the purposes for creating the enjoyment to guests that don't be sad and relieve distress to host. Getting knowledges of playing the comedian for funeral as these ; they got the how to play this show by peeping at and remember from others bands which came to play in their community then Mr. Thongmoh Kajawongse persuaded and altogether collected their friends to practice playing by copying and taking from 2 chapterd of Buddha's teachings are an exellent law praying and Malai Buddha's praying. In playing the comedian for funeral there are 6 types of playing; 1. Praying the three Buddha's teaching 2.Praying for funeral 3.Praying Malai Buddha's teaching 4.There are more than 4 players 5. Character of the starter praying and 6.The playing song out of Malai Buddha's praying. About functions in playing there are 3 steps; 1. Starting to pray three Buddha's teachings 2.Praying the contents of Buddha's teachings and 3.Praying the rhythm before praying Malai Buddha's teaching song. Having 4 tools in playing are; 1Talipot fan 2. Buddha's teaching casket 3. Malai Buddha's praying content and 4. Tom drum.
The identities of Mr. Thongmoh Kajawongse's band are style in sitting in front of the coffin as circle around Buddha's teaching casket instead of sitting on stools, spending more than 4 players, will start the praying by alternate in starting, costume will be as fashion trend but normally will dress in black and white color, the music use the top of talipot fan to poke the rhythm in praying only for funeral but later on use Tom drum to make all rhythm in pray singing and take the folk music that got influence from modern society and economic context.
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว