การทำความความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม Foreign Account Tax Compliance Act (FATCA) ...

Authors

  • วิมลรัตน์ แซ่หลี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ธนวัฒน์ บุรีรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Keywords:

ความสัมพันธ์, ภาษีอากร

Abstract

บทนำ

        ประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนานทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน มีนักธุรกิจและพลเมืองที่ถือสัญชาติไทยไปทำงาน ประกอบกิจการหรือลงทุนทำธุรกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมากและพลเมืองที่ถือสัญชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็เข้ามาทำงาน ประกอบธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากเช่นเดียวกัน เมื่อบุคคลใดมีการหน้าที่งาน หรือมีการลงทุนประกอบกิจการหรือธุรกิจก็ย่อมจะมีเงินได้หรือรายได้เกิดขึ้นและเมื่อมีรายได้เกิดขึ้น ผู้ที่มีรายได้นั้นก็ต้องเสียภาษีอากรจากรายได้ทั้งหมดให้แก่ประเทศที่เกิดรายได้ และประเทศที่ตนถือสัญชาติหรือว่ามีถิ่นที่อยู่นั้น แล้วแต่ว่ากฎหมายในการจัดเก็บภาษีของประเทศนั้นจะใช้หลักใดในการจัดเก็บภาษีจากรายได้ ซึ่งหลักในการจัดเก็บภาษีจากรายได้หรือเงินได้นั้นจะมีอยู่ 3 หลัก คือ

  1. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) หรือเรียกอีกอย่างว่า หลักอาณาเขต (Territory Income Basis) เป็นหลักที่พิจารณาถึงความสัมพันธ์ของแหล่งเงินได้กับประเทศที่จัดเก็บภาษี โดยจะใช้แหล่งที่มาของเงินได้ในรัฐนั้นมาเป็นสิ่งพิจารณาอำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษี กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดมีเงินได้เกิดขึ้นจากแหล่งในประเทศใด บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้น โดยไม่คำนึงว่าบุคคลนั้นจะถือสัญชาติของประเทศนั้นหรือไม่ และไม่คำนึงว่าบุคคลนั้นจะมีถิ่นที่อยู่อยู่ในประเทศนั้นหรือไม่
  2. หลักถิ่นที่อยู่นั้น (Resident Rule) เป็นหลักที่อาศัยความสัมพันธ์ของประเทศกับประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในประเทศ โดยอาศัยถิ่นที่อยู่ของบุคคลมาเป็นสิ่งพิจารณาอำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษี กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดมีถิ่นที่อยู่ในประเทศใด บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศนั้นในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลนั้นจะถือสัญชาติของประเทศนั้นหรือไม่ และก็ไม่คำนึงว่าเงินได้หรือทรัพย์สินที่บุคคลนั้นได้รับนั้นจะได้รับจากการทำงาน การประกอบกิจการ หรือมีแหล่งที่มาในประเทศใดก็ตาม
  3. หลักสัญชาติ (Citizenship Rule) เป็นหลักที่รัฐจะใช้สัญชาติของบุคคลมาเป็นสิ่งที่พิจารณาอำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษี โดยรัฐมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีเมื่อบุคคลใดถือสัญชาติของประเทศใดบุคคลนั้นมี

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิชาการ