ความสุขในการทำงานของข้าราชการไทย : Happiness in Work Life of Thai Achiever
Keywords:
ความสุขในการทำงาน, การทำงานของข้าราชการAbstract
บทนำ
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล จะเริ่มเห็นว่าภาครัฐเห็นความสำคัญของการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุขของคนทุกภาคส่วนในสังคม โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพูดถึงอย่างชัดเจน โดยมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี (วลัยพร รัตนเศรษฐ, 2553, น. 2) และมีความสุขมากขึ้น ต่อมาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งฉบับที่ 10 ก็ยังเน้นการพัฒนาคน หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตในการดำรงอยู่ของคนไทยอย่างมีความสุขและยั่งยืน ในส่วนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ได้เริ่มให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ทุนมนุษย์เพื่อพัฒนาประเทศเป็นเรื่องสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2549–2554) ที่เน้นการพัฒนาคน ซึ่งมุ่งสร้างความสมดุลระหว่างปัจจัยเรื่องทุน 3 ทุน คือ ทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคน อื่น ๆ 2556, น. 4) และการวิเคราะห์ทุนของประเทศในระยะต่อไป คือ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559) มุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างทุน 6 ทุน คือ ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ ทุนสังคม ทุนมนุษย์ ทุนการเงิน และทุนวัฒนธรรม โอกาสของเศรษฐกิจไทยที่ต้องปรับตัว ให้เข้ากับบริบทใหม่ของโลก และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 20 ปี ข้างหน้า จากแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ของไทยเรานี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า ทุนทั้ง 6 ดังกล่าวนั้น ใกล้เคียงกับมิติคุณภาพชีวิตและความสุขของมนุษย์มากที่สุด ดังนั้น การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความสุขของคนทำงาน จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่จะต้องส่งเสริมให้คนทำงานและข้าราชการไทยเป็นแรงงานคุณภาพและมีสุขภาวะดีทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ในขณะที่แนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) ยังคงสานต่อการพัฒนาคน โดยให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” เช่นเดิมเพื่อสร้างความมั่นคงของชาติ พัฒนาคนทุกวัยให้เป็นคนดีและคนเก่ง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่กล่าวมานั้นเป็นผลให้สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางบริหารงานบุคคลภาครัฐได้ทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสมรรถนะ (Competency Based Development) และพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการ (Quality of work life) ข้าราชการขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในส่วนราชการ ตลอดจนพัฒนาข้าราชการให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานโดยใช้หลักการพัฒนาศักยภาพของบุคคลโดยยึดหลักสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) นอกจากจะทำแผนยุทธศาสตร์เป็นแนวทางให้ทุกส่วนราชการตระหนักในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development) แล้วสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน โดยสำนักวิจัยและพัฒนาระบบบุคคล สำนักงาน ก.พ.ได้จัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับการทำระบบ “การประเมินระบบบริหารทรัพยากรบุคคล” (Human Resource Scorecard) มาใช้ในการประเมินระบบบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและจังหวัด ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริหารและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการได้เตรียมพร้อมเพื่อนำแนวทางการประเมินสมรรถนะ ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลไปใช้เป็นกรอบยุทธศาสตร์ และเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการบริหารกำลังคน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 มิติ ได้แก่ 1) ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์ 2) ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล 3) ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล 4) ความพร้อมรับผิดชอบด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และ 5) คุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน จากมิติทั้ง 5 ที่กล่าวข้างต้นความน่าสนใจในมิติที่ 5 โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะทรัพยากรบุคคลเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ คุณภาพชีวิตของคนทำงานมีส่วนสำคัญกับการทำงานน่าจะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบโดยตรงต่อกันเพราะว่าหากคุณภาพชีวิตดีมีความสุขน่าจะส่งผลให้การปฏิบัติงานสัมฤทธิ์ผลที่ดีด้วย หากคุณภาพชีวิตไม่ดีขาดความสุขในการทำงานนั้นๆแล้ว น่าจะมีผลกระทบถึงผลการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้นจึงมีความน่าสนใจที่บทความจะกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับด้านนี้
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว