การผสานทุนวัฒนธรรมผ่านงานออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ของฝากประเทศญี่ปุ่น : The Merger of Cultural Assets in Packaging Design of Souvenirs from Japan

Authors

  • ณัฐพล อ้นอารีย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

ทุนวัฒนธรรม, การสื่อสาร, การออกแบบ, บรรจุภัณฑ์

Abstract

บทคัดย่อ

ภาพรวมงานออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ของฝากประเทศญี่ปุ่นนั้น มีจุดเด่นอยู่ที่รูปแบบที่ปรากฏให้เห็นมักเชื่อมโยงกับบริบทพื้นที่ ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  ที่ถูกประยุกต์ใช้ในงานออกแบบ หากศึกษาและวิเคราะห์เรื่องของฝากของที่ระลึกที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ” (Omiyage) หรือของฝากตามคำที่คุ้นหูของคนไทย จะทราบว่าโอมิยาเกะจัดเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่มีมายาวนานและละเอียดอ่อนในการเลือกซื้อให้กับคนรู้จักนับถือแทบทุกครั้งเมื่อมีโอกาสได้ไปพบปะเยี่ยมเยือนกัน การซื้อของฝากนั้นมีความหมายมากเกินกว่าแค่การพบเจอหรือความเคารพซึ่งกันและกันเท่านั้น หากแต่ในเชิงความหมายแฝงที่มองไม่เห็น สิ่งนี้คือของเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของกันและกันผ่านรูปแบบและวิธีการอันหลากหลาย โดยแต่ละพื้นที่ก็มีของฝากที่โดดเด่นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัตถุดิบรวมทั้งวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่หากสังเกตองค์ประกอบรวมของบรรจุภัณฑ์ประเภทของฝากจากประเทศญี่ปุ่น จะพบว่ามีการนำวัสดุดั้งเดิมมาใช้นอกเหนือจากวัสดุทดแทน มีการใช้ภาพประกอบทั้งในแบบกราฟิก (Graphic) และแบบงานวาดมือ (drawing) ซึ่งมีการนำภาพทั้งจากสถานที่สำคัญและประเพณีหลากหลายมาประกอบกันเพื่อสื่อสารในลักษณะเชื่อมโยงและให้ความหมายเชิงลึกให้สมบูรณ์และเพียงพอต่อการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค

        ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีขึ้นเพื่อค้นหารูปแบบการเชื่อมโยงระหว่างวิถีวัฒนธรรมกับงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ประเภทของฝาก ว่ามีรูปแบบความเชื่อมโยงความหมายผ่านภาพประกอบ (Graphic) บนบรรจุภัณฑ์อย่างไร และภาพประกอบลักษณะไหนที่ถูกนำมาใช้กับงานดังกล่าว โดยขอบเขตการศึกษาครั้งนี้มาจากการเรียนรู้และรวบรวมข้อมูลระหว่างการเดินทางในเขตภูมิภาคคันไซ ชูบุ และคันโต ประเทศญี่ปุ่น

 

Abstract

          Considering from the overview of the design works in Japan, we will find highlights that appear in those works often use contextual linkages varied from area, beliefs, cultures, traditions as well as historical landmarks for design works. This custom can be seen in everyday life, whether in local lives or outsiders in other regions and souvenirs which called Omiyage. The tradition in making and buying Omiyage to their loved or respected ones is one of the longest and most dedicated cultures in Japan when they have a chance to meet or visit each other. Buying souvenirs is more than just meet or respect those persons, but the hidden meaning underneath is to build their relationship closer. Each area has distinctive souvenirs depended on their resources and the way of people’s lives in the area. If we look at the elements of souvenir packaging from Japan we will find that they use both varieties of traditional and modern materials and graphic which all link through deep meaning communication. It aims to create a complete messages or meanings that are enough to attract consumers’ attentions apart from its primary purpose of protecting products.

        Thus, this study intends to find the style of linkages between cultures and package designs for souvenirs that how they connect those meanings through packaging design graphics and which kind of graphic they use for these Omiyage. This study uses information collected during the trip to Kansai, Chubu and Kanto regions in Japan.

Downloads

Published

2017-12-08

Issue

Section

บทความวิชาการ