การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์อภิมาน : A Synthesis of Research of School Public Relations with Content Analysis and Meta Analysis

Authors

  • ภัฑรีภรณ์ วงภูธร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุรางคณา มัณยานนท์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • นิธิภัทร บาลศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Keywords:

การสังเคราะห์งานวิจัย, การประชาสัมพันธ์สถานศึกษา, research synthesis, school public relation

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 2)สังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อภิมานกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ปริญญานิพนธ์และวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ระหว่างปี2541-2556 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ฐานข้อมูลTDC(Thai Digital Collection) และฐานข้อมูล CMUe-Theses จำนวน 80 เรื่อง โดยมีงานวิจัยที่นำเสนอผลการวิจัยที่สามารถนำมาสังเคราะห์งานวิจัย ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมานจำนวน 27 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้แบบสรุปรายละเอียดของงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะของงานวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติt-test และค่าขนาดอิทธิพล

           ผลการวิจัยพบว่า งานวิจัยเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2551-2556ร้อยละ46.25โดยงานวิจัยที่เป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระร้อยละ72.50และแหล่งผลิตผลงานมาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามร้อยละ73.75 ด้านวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ร้อยละ 55.00 เป็นงานวิจัยในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ร้อยละ90.00 งานวิจัยศึกษาในระดับขั้นพื้นฐานร้อยละ 88.75 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ไม่ระบุ ร้อยละ75.00เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบประเมิน ร้อยละ27.50 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ใช้เป็นแบบสามเส้าหรือหลายมิติร้อยละ56.75สถิติวิเคราะห์ข้อมูลไม่ระบุสถิติทดสอบสมมติฐาน ร้อยละ33.75 ผลการประเมินคุณภาพ งานวิจัยพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยงานวิจัยของผู้วิจัยเพศหญิงมีคุณภาพสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 งานวิจัยส่วนใหญ่ศึกษาเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานการบริหารประชาสัมพันธ์สถานศึกษา รองลงมาเป็นการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สถานศึกษา และการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ประสบการณ์ทางการบริหาร รองลงมา คือ สถานภาพของผู้บริหาร ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพศบุคลิกภาพขนาดของสถานศึกษาระดับการศึกษาวุฒิการศึกษา ที่ตั้งของสถานศึกษา และประสบการณ์ทำงานการดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษาด้านที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการประชาสัมพันธ์รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ ด้านการให้บริการประชาสัมพันธ์ ด้านการประเมินผลและการปรับปรุงงานด้านแนวปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ ด้านการจัดระบบการผลิตสื่อการประชาสัมพันธ์ด้านสถานภาพด้านการประเมินผลและด้านการปรับปรุงงานด้านการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา ด้านที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการประเมินผลงาน รองลงมา คือ ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน ด้านการจัดหาทรัพยากร ด้านการจูงใจให้ปฏิบัติงานปัญหาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของสถานศึกษา ด้านที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านการจูงใจให้ปฏิบัติงาน รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงานและด้านการติดต่อสื่อสารด้านการจัดการทรัพยากรด้านการประเมินผล ด้านการกำหนดปัญหาด้านการจูงใจให้ปฏิบัติงาน

 

Abstract

             The objectives of this research were to 1)synthesize the researches of schoolpublicrelationwith content analysis, 2) synthesize the researches of school public relation with meta analysis. The research samples were graduate reports andthesisof graduate students, Academic year 2541-2556, from electronic data base. They were Thai Digital Collection and CMU thesis, total 80 pieces. Only 27 pieces were ableto synthesize by meta analysis. The research instrumentswere research detail and summationform, research quality evaluation form, and characteristic of research recording form. The statistics used in thesis research were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and effect size. The research results revealed that majority of the researches of school public relation, 46.25%, were between B.E. 2551-2556; 72.50% were independent studies, and 73.75% were from Mahasarakam University. The quantitative and qualitative methods were 55.00%; 90.00% were in educational administration field.88.75% were at foundation education level, 75.00% majority of them, did not identify sample groups. The research instruments were  questionnaire and evaluation forms, 27.50%. Quality checking of the instrument was a triangular method or multi dimension method, 56.75%. Majority of the research reports, 33.75%, did not identify statistics for hypothesis testing. The qualitative research evaluation results found that as a whole was at moderate level. Female researchers achieved higher quality than male researchers at.05 level of significance, most of the researches studied about school public relation management, next were school public relation activities and school public relation operation. The results of meta analysis found that the factors effecting school public relation achieved the highest arerage effect size aspect was administration experience, next were administrator status, management experience, gender, personality, school size, level of education degree, location of schools, and work experience. On school public relation operation, the highest average effect size was public relation management, next were public relation practice, evaluation and work improvement norm in public relation, public relation media production management system, status aspect and evaluation and work improvement. On school public relation administration, the highest average effect size aspect was evaluations, next were coordination, planning, resource providing, and work effort motivation. On obstacles of school public relation, the highest average effect size aspect was work effort motivation, next were evaluation, planning, operation and communication, resource Management, evaluation, and problem identification.                

Downloads

Published

2017-06-15

Issue

Section

บทความวิจัย