การมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบางน้ำผึ้ง ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม : The Participation of Local People in Bangnamphueng Community in Managing the Ecotourism and CulturalTourism
Keywords:
การมีส่วนร่วม, แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม, Paticipation, Ecotourism and Culture tourismAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบางน้ำผึ้งในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนชุมชนบางน้ำผึ้งในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมชุมชนบางน้ำผึ้ง (2) ศึกษารูปแบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมของชุมชนบางน้ำผึ้งประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จำนวนของประชากรกลุ่มตัวอย่าง 357 คน ได้จากการสุ่มแบบไม่เจาะจง และการคำนวณจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารท้องถิ่น 1 คน คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้นำท้องที่คือผู้ใหญ่บ้านทั้ง 11 หมู่บ้าน 11 คน รวมประชากรกลุ่มตัวอย่าง 12 คน
ผลของการวิจัย พบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระดับการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ค่าเฉลี่ย 4.02 อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือระดับการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ร่วมกันของชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.92อยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ระดับการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม ค่าเฉลี่ย 2.76 อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ คือการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มากทุกด้านแต่อยู่ที่ด้านที่ประชาชนสนใจและได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ดังที่พบว่าการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับมากและรองลงมาคือการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ร่วมกันของชุมชน ซึ่งการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนบางน้ำผึ้งมี 3 ส่วนคือ การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร อบต.และผู้ใหญ่บ้าน การมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใหญ่บ้านกับประชาชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยกันเองเอง จึงทำให้ชุมชนมีการจัดการรูปแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง พบได้จากการได้รับรางวัลด้านต่างๆ ของชุมชนเช่นรางวัลกินรีปี 2550และ2555เรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจาก ททท. รางวัลนวัตกรรมการท่องเที่ยวจากสำนักนายกและผลิตภัณฑ์ชุมชนก็ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นลูกประคบธัญพืช KBO ที่ 1 ระดับประเทศได้รับรางวัลมาตรฐานโฮมสเตย์ระดับอาเซียนของภาคกลาง อีกทั้งสมาชิกในชุมชนยังได้รับประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวร่วมกันคือ ได้รับเงินปันผลจากธนาคารชุมชนทุกปี กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ จัดแพทย์ตรวจรักษาฟรีสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
Abstract
The objectives of this research were (1) to study the participation process of local people in Bangnamphueng community in managing the community’s conservative and cultural tourism, (2) to study a modelof conservative and cultural tourism for Bangnamphueng community. For quantitative research, the population was 357 local people which were selected based on Simple Random Sampling. For qualitative research, the population was a community by selected based on purposivesampling. The sample size waspresident of sub-districtadministration organizationand village headmen from 11 villages, totaling 12 people.
The results of the study showed that the sample had moderate level of participation process with a mean score of 3.32. When individual aspects were considered, follow-up and performance evaluation had the highest mean score (x̄= 4.02, at high level). It wasfollowed by mutual benefit taking (x̄ = 3.92, at high level). The lowest mean score was planning for implementing activities( x̄ = 2.76, at moderate level). These results were consistent to the results of interviewing local administrator and leaders. The interview results indicated that local people did not have high level of participation in all aspects but only interesting and fair aspects. As mentioned earlier, follow-up and evaluation had the high mean score. It was followed by mutual benefit taking. The participation process of the members of Bangnamphueng community consisted of three parts: the participation of Subdistrict Administrative Organization (SAO)’s administrators and village headmen; village headmen-local people participation; and public participation. This led to vigorous management of ecotourism and cultural tourism, reflecting by several awards, for example, Kinnaree Awards in 2007 and 2012 under the title of the participation in managing local tourist attractions granted by TAT, Innovative Tourism Award granted by Prime Minister Office. Additionally, Bangnamphueng local product “Herbal Compress Ball” won the Innovative Local Wisdom Award for Knowledge-Based OTOP (KBO) at national level. Bangnamphueng community also received the award of homestay standard at ASEAN region. Moreover, the community members gained mutually benefits from tourist attractions because they gained dividend from community bank each year and from Elderly Welfare Fund, right to be physically checked by a group of physicians twice a week. Besides, a body of knowledge was promoted to consistently enhance local wisdom potentiality.
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว