รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก : A Model of the 21st Century Transformational Leadership Development of Administrators in Basic Education Schools in Western Region of Thailand

Authors

  • รุ่งอรุณ หงษ์เวียงจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สุริยงค์ ชวนขยัน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, Leadership, Administrators in basic education schools

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก 2)สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตกและ 3) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก โดยมีขั้นตอนในการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวข้อง วิเคราะห์และสรุปข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงทฤษฎี นำมาสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันตก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก จำนวน 310 คน จากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่าที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA)และยืนยันองค์ประกอบโดยใช้เทคนิคชาติพรรณวรรณนา (Ethnographic Futures Research: EFR) จากการสัมภาษณ์และสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่าขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันตกจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 16 คนขั้นตอนที่ 4 การประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ในด้านความสอดคล้อง เหมาะสมและความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ประโยชน์

         ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันตก มี 5 องค์ประกอบหลัก 28 องค์ประกอบย่อย และ 67 ตัวชี้วัด     2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่21การบริหารการเปลี่ยนแปลงมนุษยสัมพันธ์สมรรถนะผู้นำและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้นำมุ่งอนาคต วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันตกประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การสัมมนา การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การศึกษากรณีศึกษา และการศึกษาดูงาน 3. การประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก และการตรวจสอบคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันตกพบว่ามีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ทุกองค์ประกอบ

 

Abstract

         The objectives of this researchwere 1) to study the components of the 21st century transformational leadership development of administrators in basic education schools in the western region of Thailand2) to create a model of the 21st century transformational leadership of administrators in basic education schools  in the western region of Thailand, and 3) to evaluate the model of the 21st century transformational leadership of administrators in basic education schools in the western region of Thailand. The study procedure were 4 steps: 1) to review the transformational leadership components literature by documentary analysis; 2) to analyze the components of the model of the 21st century transformational leadership of administrators in basic education schools in the western region of Thailand. The 310 samples were randomly selected from school administrators. The instrument used for data collection were the rating scale questionnaire with the reliability at 0.976. The data were analyzed by using exploratory factor analysis (EFA) and confirmed by semi-structured interview and interviewing 15 experts Ethnographic Futures Research approach (EFR)3) to create a developmental model of the 21st century transformational leadership of administrators in basic education schools in the western region of Thailand by interviewing 16 experts 4) to evaluate the model by using focus group discussion with 11experts on transformational leadership.

         The results of this research were as follows: 1.The transformational leadership components of administrators in basic education schools in the western region of Thailand consisted of 5 major aspects, 28minor aspects and 67 indicators. 2. The model of the 21st century transformation leadership of administrators in basic education schools in the western region of Thailand consisted of 5 major aspects including: 1) 21st century leadership skills 2) change management 3) human relationship 4) leadership skills and 5) desirable characteristics of the future leadership. The method to develop the 21st century transformational leadership included workshop, independent study, seminars, discussions, case study and study tour. 3. The model of the 21st century transformation leadership of administrators in basic education schools in the western region of Thailand and handbook as evaluated by using focus group discussion was found appropriate and all components were possible to be practiced.

 

Downloads

Published

2017-06-15

Issue

Section

บทความวิจัย