การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก : The Satisfaction of the Clients of PrommaneeTambon Administration Organization MuangDistrictNakhonNayok Province
Keywords:
ความพึงพอใจ, องค์การบริหารส่วนตำบล, บริการสาธารณะ, Satisfaction, Subdistrict Administrative Organization (SAO), Public ServiceAbstract
บทคัดย่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นในด้านต่างๆ เป็นการสร้างรากฐานคุณภาพชีวิต โดยตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นการประเมินผลความพึงพอใจประชาชนผู้รับบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจประชาชนผู้รับบริการ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี และศึกษาความพึงพอใจของลักษณะงานบริการสาธารณะ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ งานด้านพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคม งานด้านสาธารณสุข งานด้านรายได้หรือภาษีและงานด้านอื่นๆ เป็น
การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม 4 ชุด โดยทำการสำรวจผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณีผลจากการศึกษาทำให้ทราบถึงระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทำให้ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ และนำผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจให้เกิดแก่ผู้มาใช้บริการ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการสร้างแบบสอบถาม เพื่อสอบถามประชาชนที่รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี จำนวน 400 ราย ผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้กำหนดประเมินความพึงพอใจ 4 งาน ได้แก่งานด้านพัฒนาสังคมและสวัสดิการสังคมงานด้านสาธารณสุข งานด้านรายได้หรือภาษี และงานด้านอื่นๆ ปรากฏว่าได้คะแนนความพึงพอใจแต่ละงาน ดังนี้ ร้อยละ 96.6 ร้อยละ 96.8 ร้อยละ 96.4 และร้อยละ 96.4คำนวณ = 386.2/4 = 96.6 คะแนนที่ได้= 10 คะแนน
Abstract
Subdistrict Administrative Organization (SAO)-Prommanee in Muang District, NakhonNayok Province is a local government that takes the main role in providing the public services for local people in various fields. Also,delivering the good quality of life as facilitate needs of the people and solve theirs problems. Therefore, this research was studied in the evaluation of citizens in the SAO-Prommanee ‘s satisfaction who receive the public services.The objective of this study is to understand the satisfaction of the SAO-Prommanee’s clientsduring the process of services, the service channels, the official providers and the facilities of their servicesMoreover, the analysis of public service’s satisfaction involve in four areas as the social work and welfare, public health, income or tax and the other areas. The survey research consisted of four patterns of the questionnaires. The results of investigation were indicated the level of satisfaction of the SAO-Prommanee’s clients.For that reason, the executive management and the relevant authorities were aware of the concern issues and other recommendations. The results were used to process the operational planning, improve service efficiency and increase customer satisfaction to those who use the service. This research study in term of the quantitative research by creating a questionnairessendingtotheSAO-Prommanee’s clients in 400 researchers have examined the accuracy and completeness of the query. Then the researchers analyzed the data by using the SPSS program. The result of the study were as follows: Four areas as the social work and welfare, public health, income or tax and the other areasinFiscal Year 2558 get the customer satisfaction scores in 96.6%t, 96.8 %, 96.4 % and 96.4 % respectively, or calculated to386.2 / 4 = 96.6 inaverage then thescoreis 10 points.
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว