ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความสุขในการทำงานของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด และ4)สร้างสมการพยากรณ์ความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมารค่า 5 ระดับ มีค่าค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 และ 0.94 และค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.6–1.0 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการทำงานของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ความสุขในการทำงาน (X) กับความจงรักภักดีต่อองค์กรของครู (Y) มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำ (r=.371) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความสุขในการทำงาน ด้านความสำเร็จในงาน (X3) ด้านความรักในงาน (X2) และด้านการติดต่อสัมพันธ์ (X1) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ .261 .156 และ .127 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ .306 .190 และ .172 โดยตัวแปรทั้งสาม สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยความสุขในการทำงานกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ร้อยละ 26.30 และตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้มากที่สุดคือ ด้านความสำเร็จในงาน (X3) เขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ความสุขในการทำงานกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้คะแนนดิบ
Y´ = 2.103 + .261 X3 + .156 X2 + .127 X1
สมการพยากรณ์ความสุขในการทำงานกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้คะแนนมาตรฐาน
Z´Y = .306 + .190 + .172
Article Details
References
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ.
กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากร
ในวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การจัดการทั่วไป) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
กิ่งกาญจน์ เวชทรัพย์. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. งาน
นิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จีรพิศ สุวรรณวงศ์. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของขวัญกำลังในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาส
ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิจัยการศึกษา).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงพร โพธิ์สร. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. งานนิพนธ์ รป.ม. (บริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิพวัลย์ รามรง. (2557). สรรสาระองค์กรแห่งความสุข เล่ม 1. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด
นภัชชล รอดเที่ยง. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทํางานของบุคลากรที่สังกัดศูนย์อนามัยในเขตภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (อนามัยครอบครัว).
มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชม ศรีสะอาด, มนตรี อนันตรักษ์, และนิภา ศรีไพโรจน์. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กาฬสินธุ์:
ประสานการพิมพ์.
ปอวลี ผลประทุม. (2555). ความสุขในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษา กลุ่มศรีราชา 1
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยบูรพา.
พจนรินทร์ เหลืองอรัญนภา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
พรนิภา ชาติวิเศษ (2557). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสานนครราชสีมา.
ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์:
ประสานการพิมพ์.
ศิรินภา มณฑาพงษ์. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.
2555 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิรินทร แซ่ฉั่ว. (2553). ความสุขในการทำงานของบุคลากรเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์กลุ่ม
สื่อและกลุ่มงานสร้างสรรค์เพื่อการใช้งาน. ปริญญานิพนธ์ ว.ท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ).
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
หทัยรัตน์ ตันสุวรรณ. (2550). ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ความจงรักภักดีต่อองค์กร และบรรยากาศในองค์กรที่มีผลต่อ
ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์
บธ. ม. (การจัดการ)มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อรวรรณ ยอดสนิท. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของครูศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา).
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัญชนา คำสอด. (2559). ความผูกพันของครูต่อโรงเรียนในกลุ่มศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Steers, R.M. (1991). Introduction lo Organization Behavior. New York: Collin