การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัล สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สนธยา หลักทอง
เผชิญ กิจระการ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้ดิจิทัล สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานและเอกสารประกอบ แบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม แบบประเมินทักษะและคุณลักษณะ และเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการฝึกอบรม สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การ วิเคราะห์เนื้อหา สถิติสำหรับการทดสอบ ได้แก่ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks และ t-test (Dependent) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) องค์ประกอบสำหรับการฝึกอบรมแบบผสมผสาน 4) ขั้นตอนการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามหลักการนำตนเอง และ 5) ผลการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า หลังการฝึกอบรมครูมีคะแนนด้านความรู้สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีผลการประเมินด้านทักษะอยู่ในระดับดีมาก และมีคะแนนการประเมินด้านคุณลักษณะสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Akarawang,C. (2015). Kānphatthanā mō dē lakān fưk ʻoprom bǣp phasomphasān phư̄a sœ̄msāng samatthaphāp

dān theknōlōyī sārasonthēt læ kānsư̄sān samrap khrū nai sangkat samnakngān khana kammakān kānsưksā

naphư̄n thān [The Development of a Blended Training Model to Enhance Human Competency in Information

Communication and Technology for Teachers in the Office of the Basic Education Commission (Unpublished

Doctoral Dissertation)]. Mahasarakham University, Mahasarakham, Thailand.

Bangpoophamorn, K. (2016). Kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n bǣp hō̜ng rīan klap dān rūam kap kān rīanrū

bǣp nam tonʻēng phư̄a songsœ̄m khwāmsāmāt nai kān khit wikhro̜ khō̜ng naksưksā radap parinyā trī. [The

development of flipped classroom model with self-directed learning to enhance critical thinking in an

undergraduate course (Unpublished Doctoral Dissertation)]. King Mongkut’s University of Technology North

Bangkok, Bangkok, Thailand.

Chantakul, P. (2016). Rūpbǣp kānphatthanā samatthana khrū nai kānchai theknōlōyī sārasonthēt læ kānsư̄sān

phư̄a kānčhatkān rīanrū nai satawat thī yīsipʻet. [A model enhancing teacher competency in using information

and communication technology for learning management of the 21st century (Unpublished Doctoral

Dissertation)]. Naresuan University, Phitsanulok, Thailand.

Khemmani, T. (2008). Rūpbǣp kān rīan kānsō̜n thāng lư̄ak thī lāklāi [Form of teaching: A various choice].

Bangkok : Chulalongkorn University.

National Science and Technology Development Agency. (2016). Digital Literacy. Retrieved January, 2018, from

https://www.nstda.or.th/th/nstda-knoeledge/142-knowledges/2632

Ministry of Education. (2014). Rāingān phonkān sưksā tūa chī wat ICT dān kānsưksā nai sathān sưksā radap

kānsưksā naphư̄n thān krasūang sưksāthikān pīkānsưksā sō̜ngphanhārō̜ihāsipčhet {Report on the results of

the study of ICT indicators in education in educational institutions at the level of basic education Ministry of

Education, academic year 2014]. Bangkok : Information and Communication Technology Center, Office of the

Permanent Secretary, Ministry of Education.

Phuthimanoradeekul, N. (2016). Kānphatthanā rūpbǣp kān fưk ʻoprom bǣp phasomphasān dūai kānwāngphǣn

bǣp ʻanākhot phāp læ kān rīanrū čhāk kān patibat khō̜ng klum khwāmrūammư̄ phư̄a songsœ̄m khwāmsāmāt

nai kān khit chœ̄ngkon yut samrap phanakngān thanākhān Thai [Development of a Blended Training Model

Using Scenario planning and Action Learning of Collaborative Groups to Enhance Strategic Thinking Ability of

Thai Bank Personal (Unpublished Doctoral Dissertation)]. Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand