ความต้องการจำเป็นของความร่วมมือในการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน

Main Article Content

sakunrat kaewsombat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของความร่วมมือในการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยได้แก่ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในประเทศไทย จำนวน 3,937 โรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนจำนวน 363 โรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 1,452 คน โดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มแบบแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ โดยใช้แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามที่ได้มาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ชุด แล้วนำมาหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การบริหารงานร่วมกัน  และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ การแบ่งปันทรัพยากร สภาพที่พึงประสงค์ พบว่า สภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่  การบริหารงานร่วมกันและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ การแบ่งปันทรัพยากร 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความร่วมมือการจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชน พบว่า ค่าความต้องการจำเป็น PNIModified อยู่ระหว่าง 0.09 – 0.13 โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุดได้แก่  การแบ่งปันทรัพยากร การสร้างเครือข่าย การมีเป้าหมายร่วมกัน  การทำงานร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกัน และการบริหารงานร่วมกัน ตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Ainscow, M., & Hargreaves, A. (2016). Collaboration as a strategy for promoting equity in education: possibilities and barriers. Journal of Professional capital and community.
Armstrong, P. W., & Ainscow, M. (2018). School-to-school support within a competitive education system: views from the inside. School Effectiveness and School Improvement, 29(4), 614-633. doi:10.1080/09243453.2018.1499534
Azorin, C. M., & Muijs, D. (2017). Networks and collaboration in Spanish education policy. Educational Research, 59(3), 273-296.
Conderman, G., & Hedin, L. (2017). Two co-teaching applications: Suggestions for school administrators. Kappa Delta Pi Record, 53(1), 18-23.
Goolsby, D. M., Bohannon, M., & McDavid, K. (2019). Shared Governance and Activism: The Importance of Campus Collaboration for Marginalized Students.
Gu, Q., Rea, S., Smethem, L., Dunford, J., Varley, M., Sammons, P., P., Parish, N., Armstrong, P. and Powell, L. (2016). Teaching schools evaluation: Final report. London: Department for Education.
Helgetun, J. B., & Menter, I. (2020). From an age of measurement to an evidence era? Policy-making in teacher education in England. Journal of Education Policy, 1-18.
Johnson, C. C., Mohr-Schroeder, M. J., Moore, T. J., & English, L. D. (Eds.). (2020). Handbook of Research on STEM Education. New York : Routledge.
Liu, J. (2018). Constructing resource sharing collaboration for quality public education in urban China: Case study of school alliance in Beijing. International Journal of Educational Development, 59, 9-19.
Newell, C., & Bain, A. (2018). Defining Collaboration and Previewing Success Factors for Effective Collaboration. In Team-Based Collaboration in Higher Education Learning and Teaching (pp. 9-27). Springer: Singapore.
Ngampakon S., Chaisuk P., Phrakhruphattharadhammakun, Phramaha Sombat Dhanapañño, Sangnont K. (2019). kānbō̜rihān kānsưksā : nǣokhit thritsadī læ rūpbǣp kānbō̜rihān čhatkān [Educational Administration : Concept Theory and Management]. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 6(3), 134-146.
[สิน งามประโคน, พีรวัฒน์ ชัยสุข, พระครูภัทรธรรมคุณ ปั้นมยุรา, พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ, เกษม แสงนนท์ และ อำนวย เดชชัยศรี. การบริหารการศึกษา : แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(3), 134-146.]
Pasunon P. (2016). khwām thīangtrong khō̜ng bǣpsō̜pthām samrap ngānwičhai thāng sangkhommasāt [Validity of questionnaire for social science research]. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University, 18(1), 375-396.
[ประสพชัย พสุนนท์ (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีท่ี 18 ฉบับเดือนมกราคม-ธันวาคม 2558, 375-396]
Ricci, L. A., Zetlin, A., & Osipova, A. V. (2017). Preservice special educators’ perceptions of collaboration and co-teaching during university fieldwork: Implications for personnel preparation. Teacher Development, 21(5), 687-703.
Wongwanich, S. (2007). kānwičhai pramœ̄n khwāmtō̜ngkān čhampen [Needs assessment research]. Bangkok: Chulalongkorn University.
[สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.]
Zaslow, M., Tout, K., & Halle, T. (2018). Toward the Identification of Features of Effective Professional Development for Early Childhood Educators. Office of Planning, Evaluation and Policy Development, US Department of Education, 2010. https://eric.ed.gov/?id=ED527140