การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง

Main Article Content

Namfon Gunma

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง ศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของหลักสูตร และศึกษาผลงานและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนเมื่อผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู จำนวน 10 คน นักเรียนจำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน จำนวน 3 ฉบับ สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง มีองค์ประกอบ ได้แก่ คำนำ คำชี้แจงประกอบการใช้หลักสูตร วิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าประสงค์ โครสร้าง เนื้อหา เวลา ผังมโนทัศน์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ อันประกอบไปด้วย สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้  สาระการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  และสื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และมีความถูกต้องและความเป็นไปได้ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 2. ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมาก และด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3. ผลงานและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเมื่อผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 53.13 รองลงมาคือ ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 43.75

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ.(2554). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
จีระนันท์ เสมอใจ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเสริมสร้างความสามารถในการรับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหวของนักเรียนโรงเรียนแม่ลาววิทยาคม จังหวัดเชียงราย.รวมเล่มบทคัดย่อการประชุมวิชาการพะเยาวิจัยครั้งที่ 8 วันที่ 24 – 25 มกราคม 2562 มหาวิทยาลัยพะเยา.ISBN:978-616-7820-78-1,หน้า163-164.
ธำรง บัวศรี.(2532). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : เอราวัณการพิมพ์.
นิติ นาชิต ชัยวิชิต เชียรชนะ และสิริรักษ์ รัชชุศานติ. (2560). การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามแนวคิด การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจในสถานศึกษาอาชีวศึกษา.ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 180-197.
บุญรอด ชาติยานนท์.(2559). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2284-2299.
พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2, การศึกษาและพัฒนาสังคม, 5(1-2), 117-130.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). ปรัชญาวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตร คุณานุกร. 2523. หลักสูตรและการสอน . พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ชวนการพิมพ์.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Translated Thai References
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc. [in Thai]
Buason,R.(2008). Philosophy of Research.Bangkok : Chulalongkorn University. [in Thai]
Buasri,T.(1989). Curriculum Theory : development and design.Bangkok : Arawan printing. [in Thai]
Charttiyanon,B. (2016). The study of characteristics of student demonstration school. Silpakorn University ,Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2284-2299. [in Thai]
Kunakorn,S. (1980). Curriculum and instructional. Print number 4.. Bangkok: chuan printing. [in Thai]
Nachit, N., Chianchana,C.,&. Ratchusanti,S. (2017). An Applying the Evaluation Model of Short Course Curriculum Base on Empowerment Evaluation Approach In Vacation College.Education, Naresuan University, 19(3), 180-197. [in Thai]
Samerjai,J.(2019). Development of Local curriculum to enhance student’ ability to Prevention earthquake disaster . Maelaowittayakom School in Chiang Rai, abstracts books, conferences, research phayao number 8. 24 – 25 January 2019 University of Phayao. ISBN:978-616-7820-78-1,163-164. [in Thai]
Thamsirikwan,P. (2009). An Integrated Curriculum Development of Work-Oriented Subject and Technology to Enhance Moral Behaviors of Prathomsuksa II Students. Education and social development, 5(1-2), 117-130. [in Thai]
The Ministry of education. (2003). The National Education Act of 1999. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand (ETO). [in Thai]
The Ministry of education. (2003). The National Education Act of 1999, as amended (No.2) Act 2002 and related regulations and compulsory education Act 2002. Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand (ETO). [in Thai]
The Ministry of education. (2011). Development Measurement and evaluation of desirable characteristics According to the core curriculum Basic Education Curriculum 2551. Bangkok: Printing Office of National
Buddhism. [in Thai]