รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู และตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่ง การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมติฐานการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั่งฉบับเท่ากับ 0.96 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู รวมทั้งสิ้น 312 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ประกอบด้วย สมรรถนะสถาบัน คุณลักษณะอาจารย์ คุณลักษณะนักศึกษา และสภาพแวดล้อม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า c2 เท่ากับ 113.49 ค่า df เท่ากับ 68 ค่า p-value เท่ากับ 0.00 ค่า GFI เท่ากับ 0.95 ค่า AGFI เท่ากับ 0.92 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.4 โดยปัจจัยคุณลักษณะนักศึกษา มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิผลหลักสูตรมากที่สุด รองลงมาคือคุณลักษณะอาจารย์ ส่วนปัจจัย ที่ส่งผลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญต่อประสิทธิผลหลักสูตร มากที่สุด คือ สมรรถนะของสถาบัน โดยตัวแปรทั้งหมดในรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ได้ร้อยละ 59 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10) .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประภาพรรณ ปรีวรรณ. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการพัฒนาการอาชีวศึกษาระบบวิภาคี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ภูมิสิษฐ์ สุคนธวงศ์. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรชัย ภิรมย์. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูง ภาคเหนือตอนบนประเทศไทย .
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วสุกฤต สุวรรณเทน. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วิทยาลัยสันตพล. (2557). หลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล. อุดรธานี : วิทยาลัยสันตพล.
สมหมาย เทียนสมใจ. (2556). รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2551). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ : เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพฯ : มิสชั่น มีเดีย.
อิลฮาม อาเก็ม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา