ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู

Main Article Content

อุรสา พรหมทา
สมชาย วงศา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 25 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน 3) แบบทดสอบวัดความรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.75/89.07 2) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีค่าเท่ากับ 0.72 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐกานต์ เดียวตระกูล. (2560). การใช้รูปแบบห้องเรียนกลับทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา. ศรีปทุมปริทัศน์, 17(2), 137-145.
นงค์ลักษ์ สมมี และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัย เพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 7 “สหวิทยาการ สู่ไทยแลนด์ 4.0”, 7(1), 354-363.
ประยูร วงศ์จันทรา และคณะ. (2559). การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิธีเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. การประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย” ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2559, 26 พฤษภาคม 2559 ณ หอประชุมใหญ่ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น อำเภอเมือง จังหวัดตาก.
ประวิทย์ สุทธิบุญ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา โดยกระบวนการทัศนศึกษา เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(3), 197–208.
เผชิญ กิจระการ. (2545). “ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.),”. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 30-36.
พัชทิชา กุลสุวรรณ์ และคณะ. (2560). การจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์กับการจัดการมลพิษอย่างยั่งยืน สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 265-276.
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2546). การปฏิรูปการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา : การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี. วารสารเซนต์จอห์น, 6(6), 1-15.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.
วิจารณ์ พานิช. (2551). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
อพันตรี พูลพุทธา และคณะ. (2558). การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง
ด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์. โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” (กลุ่มการศึกษาและวัฒนธรรม). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. บุรีรัมย์.
Bloom, B.J. (1956). Taxonomy of Educational Objectives : Handbook I : Cognitive Domain. New York : David McKay.
Zuber-Skerrit. (1992). Action Research in Higher Education. London : Kogan Page.