อนาคตภาพของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระหว่าง พ.ศ.2559-2573

Main Article Content

พระครูพนมปรีชากร แก้วบุตตา

บทคัดย่อ

     การศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาการศึกษาจะมีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติทั้งในด้านความรู้ความคิด ความประพฤติและคุณธรรม และเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาและมุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคน ระบบการศึกษาต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 รวมไปถึงการจัดการศึกษาให้แก่บุคลากรของทางศาสนาด้วย ดังปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) สำหรับการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยนั้นมี 3 แผนก คือ 1) การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี 2) การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม 3) การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จากการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาเท่าที่ผ่านมายังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข ในการที่จะแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมได้อย่างสอดคล้องกับปัญหาอย่างแท้จริงนั้นเพื่อให้ได้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในอนาคตระหว่าง พ.ศ.2559-2573 โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) ผู้เรียนคุณภาพ 2) ครูคุณภาพ 3) โรงเรียนคุณภาพ 4) การบริหารโรงเรียนที่มีคุณภาพ 5) การมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพของชุมชน        โดยใช้การวิจัยแบบ EDFR สัมภาษณ์ผู้บริหารของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 24 คน และป้อนข้อมูลย้อนกลับให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถามแบบเดลฟาย ( Delphi questionnaire ) ที่สร้างขึ้นจากการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ วัดผลกระทบภาคตัดไขว้ด้วยแบบสอบถามกับบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน โดยใช้สถิติ คือ ความน่าจะเป็นขั้นต้น ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข และอัตราส่วนแต้มต่อของผลกระทบไขว้

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

กองพุทธศาสนศึกษา.(2547).พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์
การศาสนา.
กองพุทธศาสนศึกษา. (2551).สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.การบริหารจัดการ
การศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
กีรติ บุญเจือ. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทของสถาบันศาสนาในการจัดการศึกษา
แหงชาติ.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กรมการศาสนา. (2542) .การบริหารจัดการการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ
ศึกษา. โรงพิมพ์การศาสนา :กรุงเทพ.
จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2529).“การวิจัยอนาคต”. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 1(1), มกราคม–เมษายน, 22-24.
ชำเลืองวุฒิจันทร์, (2547Xการพัฒนากิจการคณะสงฆ์และการศาสนาเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ : เอกสารวิจัยส่วนบุคคลในลักษณะวิชาสังคมกรุงเทพฯ กรมการศาสนา
นาตยาปิลันธนานันท์. (2526).อนาคตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พีระพัทธนา.
รุ่ง แก้วแดง. (2541). การปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มติชน.
วรนุช อุษณกร.( 2540).ในหลวงกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.กรุงเทพฯ : โอ.
เอส.พริ้นติ้ง,
วิชัยธรรมเจริญ.(2541).คู่มือการปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา.
กรุงเทพฯ:การศาสนา,
สุวิทย์เมษินทรีย์.( 2553) เมื่อโลกไม่ใช่ใบเดิม .กรุงเทพฯ : มีเดียแอสโซซิเอตเต็ด
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพรมากแจ้งและสมปองมากแจ้ง. (2542).การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของคณะ
สงฆ์.กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546, ระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2546.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ .
สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ( 2550)
แนวทางการจัดการศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สําหรับโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: กองพุทธศาสนศึกษา ฝ่ายการศึกษาพระปริยัติธรรม
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.(2558).เอกสารการประชุมอบรมสัมมนา. พิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ .
อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย.(2557).อนาคตภาพการ อาชีวศึกษาเอกชนไทยในยุคประชาคมอาเซียน ระหว่าง พ.ศ. 2558 – 2567 .วิทยานิพนธ์ ปร.ด. : บัณฑิตวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร