รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อ คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น จำนวน 3 แห่ง และระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27-0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 600 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษ ที่ 21 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ คือ สมรรถนะส่วนบุคคล สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ สมรรถนะด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน และสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ = 100.47, p-value = 0.97030 df = 129, /df = 0.7788, RMSEA = 0.000, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, CN = 999.16, CFI = 1.00 RMR = 0.0058 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ของสมรรถนะทั้ง 5 สมรรถนะ พบว่า สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้ร้อยละ 79
Article Details
References
นงลักษณ์ พิมพ์ศรี. (2559). การพัฒนาครูในสถานศึกษาเพื่อรองรับการประเมินสมรรถนะประจำสายงานด้านภาวะผู้นำครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 3-14.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา; กรณีนานาทัศนะการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์.
สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2558). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ และความฉลาดทางอารมณ์ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุทธิชัย ผ่านสุวรรณ. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคุณภาพครูที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 69-77.
อมรรัตน์ เชิงหอม. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(3), 193 - 200.
อรัญญา ชนะเพีย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3), 50-58.
Benson, E., Nduro, K. Amissah & Amissah, E.K. (2015). Factors affecting the quality of students’ research work : Exploring the perception of students. International Journal of Education, Learning and Development, 3(6), 54-67.
Margaret, C. C. (2014). An exploration of how the beliefs and self-perceptions of early childhood teachers influence their classroom practice (Unpublished doctoral dissertation). Sheffield : University of Sheffield.
Muthaa, G. (2015). Factors affecting implementation of early childhood development education in public centres in Imenti South District, Kenya. British Journal of Education, Society & Behavioural Science, 7(4), 267-272.
Translated Thai References
Chanaphia, A. (2016). A causal relationship model of administrative factors affecting quality of students in schools under Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast Region of Thailand. Nakhon Phanom University Journal, 6(3), 50-58. [in Thai]
Choeng-hom, A. (2015). Development of a primary school administration model which affects the quality of students. Journal of Education Khon Kaen University, 38(3), 193 – 200. [in Thai]
Meeboon, T. (2018). The causal factors influencing student quality in child development centers under local administration organizations in the Northeast region of Thailand. Nakhon Phanom University Journal, 8(1), 76-84. [in Thai]
Pansuwan, S. (2016). A causal relationship model of teacher quality factors affecting the characteristics of early 21st century students. Nakhon Phanom University Journal, 6(3), 69-77. [in Thai]
Phanich, V. (2015). 21st Century Skills : Rethinking How Students. LearnJournal of Learning Innovations, 1(2), 3-14. [in Thai]
Pimsri, N. (2016). Development of teachers in schools for functional competency assement of leadership (Unpublished doctoral dissertation). Buriram Rajabhat University, Buriram, Thailand. [in Thai]
Sanrattana, W. (2014). 21st century just the beginning brighter education, brighter future let’s start now. Bangkok : Se-Ed Book Center. [in Thai]
Theerathumatada, S. (2015). Needs for achievement, creative action, and emotional quotient affecting work efficiency of private company employees in Bangkok (Unpublished master’s thesis). Bangkok University, Bangkok, Thailand. [in Thai]