การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู และศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตร โดยการสังเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและเอกสารความสามารถของครูมืออาชีพ เครื่องมือคือแบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร ซึ่งมีความเหมาะสมเท่ากับ 4.40 เหมาะสมในระดับมาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายเชิงวิเคราะห์เพื่อการยกร่างหลักสูตร ตรวจสอบความเหมาะสมของร่างหลักสูตรและแบบประเมินความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 2 การศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตร โดยการทดลองใช้หลักสูตรใช้แบบแผน Pre-Experimental Design แบบการวิจัย One-Shot Case Study ประชากรคือนักศึกษาชั้นปีที่ 5 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาภาคเรียนที่ 1/2562 จำนวน 580 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1. หลักสูตรรายวิชาการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรรายวิชา 4) คำอธิบายรายวิชาและขอบข่ายเนื้อหาสาระ 5) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและการประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมเฉลี่ย 4.54 (S.D. = 0.15) อยู่ในระดับมากที่สุด 2. แบบประเมินความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู นำแบบประเมินไปหาค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.99 และ 3. แบบบันทึกสะท้อนตน มีความเหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าเท่ากับ 4.00 อยู่ในระดับมาก ค่าประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาใช้สถิติ และร้อยละ ตามเกณฑ์การผ่านหลักสูตร พบว่านักศึกษามีความสามารถของครูมืออาชีพเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (S.D. = 0.31) ซึ่งอยู่ในระดับสูงที่สุด และคะแนนจากการประเมินความสามารถของครูมืออาชีพและแบบบันทึกสะท้อนตนรวมทั้งหมดร้อยละ 89 ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 ขึ้นไป และงานวิจัยนี้เกิดประโยชน์ต่อสถาบันการผลิตครูที่มีหลักสูตรรายวิชาปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถของครูมืออาชีพสำหรับนักศึกษาครู และการใช้หลักสูตรรายวิชานี้จะทำให้คุณภาพของครูไทยให้มีทั้งครูดี ครูเก่ง มีความสามารถครอบคลุมทุกด้าน อันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action : A Social cognitive theory. New Jersy: Prentice-Hall.
____________ . (1997). Self-Efficacy The Exercise of Control. W.H. Freeman Company. New York: USA.
Boonterm, T. (2008). kānsāng laksūt. Khon Kaen: Departm. of Curriculum & Instruction, KKU. [n.p.]. [in Thai]
Campbell, D.T. & Stanley, J.C. (1963). Experimental and Quasi-Experimental Design for Research. Houghton
Mifflin Company. London: USA.
Dechakoop, P. & Yindeesuk, P. (2018). thaksa čhet C khō̜ng khrū 4.0 PLC & Log book ( Phim khrang thī 4). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Faculty of Education; Roi Et Rajabhat University. (2016). khūmư̄ naksưksā Khana Kharusāt pračham pīkānsưksā 2018. Roi Et: Roi Et Rajabhat University. [in Thai]
_____________ . (2017). laksūt khrusātbanthit ( laksūt hā pī ) sākhā wichā witthayāsāt thūapai laksūt
prapprung Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip. Roi Et: Roi Et Rajabhat University. [in Thai]
Kalam, S., Dakaew T., Wijakanalan, S., Wongkamjan, J., & Kamplae, P. (2018). kānphatthanā tūa chī wat
naksưksā khrū phư̄a khwāmpen khrū mư̄ʻāchīp mahāwitthayālai rātchaphat rō̜i ʻet. Roi ET
University Journal (Extra Version). ICET II: Critical Innovation; “the 2nd Inter. Conference of
Education and Technology Research 2018”. 26 July 2018. (34-42). [in Thai]
Kalam, S., Dakaew, T., Kuroda, A., & Wijakanalan, S. (2019). The self-Efficacy and Self-Regulation
Learning Abilities Using Self-Assessment for Student Teacher, Roi Et Rajabhat University. The 3rd
National and International Conference on Education and Technology Research 2019: III : Innovative Local Development, Roi Et Rajabhat University, 12th July 2019, Proceeding, 6.
Kalam, S., Kuroda, A., & Wijakanalan, S. (2020). Analyze Confirmatory Factors of Science and Mathematics Professional Characteristics Teacher in Thailand. Journal of Physics: Conference Series. Volume 1667, 2020.
Ministry of Education: Thailand. (2011). Notification of the Ministry of Education about Thailand Qualification Framework in Education (5 years). Bangkok: Office.
Nongna, P. (2016). kānphatthanā laksūt rāiwichā phư̄a sœ̄msāng khīt khwāmsāmāt khō̜ng
naksưksā khrū nai kānčhatkān rīanrū būranākān ʻĀsīan sưksā. Doctor of Philosophy Thesis in
Curriculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]
Office of the Education Council. (2016). rāingān phonkān sưksā kānphatthanā māttrathān kānsưksā khō̜ng
tāngprathēt. Bangkok: 21 Century Ltd. [in Thai]
_____________ . (2018). kānphatthanā konkai khapkhlư̄an rabop kānphalit læ phatthanā khrū
samatthana sūng samrap prathēt Thai 4.0. Bangkok: Prikwarn Graphic Company Ltd. [in Thai]
Office of the Higher Education Commission. (2018). rāingān saphāwa kānsưksā Thai pī
sō̜ngphanhārō̜ihāsipčhet / sō̜ngphanhārō̜ihāsippǣt čha patirūp kānsưksā Thai hai than lōk nai
satawat thī yīsipʻet dai yāngrai. Bangkok: Office. [in Thai]
Ratanavaraha, D. (2016). kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n phư̄a sœ̄msāng khwāmsāmāt nai
kānrīanrū dōi kānkam kap tonʻēng khō̜ng naksưksā radap parinyā trī. Doctor of Philosophy,
Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Khon Kaen University. [in Thai]
The Teachers’ Council of Thailand. (2019). khō̜bangkhap khuru saphā wādūai māttrathān wichāchīp
(chabap thī sī ) 2019. Rātchakitčhānubēksā . 136, 68 ng, page 18. [in Thai]
Virtanen, P. et all. (2017). Australian Journal of Teacher Education. “Active Learning And Self-Regulation
Enhance Student Teachers’ Professional Competences”.42 (12), 1.
Zhou, X. (2018). The development of a thai language instructional model to enhance thai speaking
ability of chinese students based on self-efficacy theory and constructivism theory. Doctor of
Philosophy, Thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Burapha University.
Zimmerman, B.J. & Schunk, D.H. (2011). Handbook of Self-Regulation of Learning and Performance.
New York: USA.