การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาสายผู้สอน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 702 คน วิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 3) จัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการทำงานของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย และ 81 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านความพึงพอใจในการทำงาน จำนวน 21 ตัวบ่งชี้ ด้านความสำเร็จในการทำงาน จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ ด้านวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมการทำงาน จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ ด้านลักษณะงานที่ทำ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และด้านมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 64.75 df =79 ค่า P = 0.88 ค่า GFI = 0.99 ค่า AGFI = 0.97 ค่า RMSEA = 0.00 ค่า CN = 1201.00) เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักขององค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเป็น ดังนี้ 1) ด้านความสำเร็จในการทำงาน (0.99) 2) ด้านมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน (0.98) ด้านความพึงพอใจในการทำงาน (0.94) ด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน (0.88) ด้านลักษณะงานที่ทำ (0.84) และ 7) ด้านวัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมการทำงาน (0.81) ตามลำดับ และ3) คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.49, S.D. = 0.29)
Article Details
References
Mukda, W. (2016). khwām suk nai kānthamngān khō̜ng khrū phū dūlǣ dek sangkat ʻongkō̜n pokkhrō̜ng sūan thō̜ngthin phāk tawanʻō̜k khō̜ng prathēt Thai . Happiness in the work of child care teachers. Under the local government organization Eastern region of Thailand. Research report, Bangkok: Suan Dusit University.
Office of the National Economic and Social Development Board (2006). phǣn phatthanā sētthakit læ sangkhom hǣng chāt chabap thī sip10th National Economic and Social Development Plan (2007 - 2011). Bangkok: Office of the Prime Minister. Office of the Basic Education Commission (2009). nǣothāng kānčhatkān rīanrū tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt 2551.Guidelines for learning management based on basic education core curriculum 2008. Bangkok: Assembly printing house of Agricultural Cooperative of Thailand Limited.
Phanglak, M. (2016). khwām suk nai kānthamngān khō̜ng khrū nai ʻamphœ̄ mư̄ang sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā prathom sưksā cha chœ̄ng thē rā khēt 1. Happiness of teacher work in Mueang District. Under the Office of Primary Education Service Areas Chachoengsao District 1. Master of Education Thesis. Chonburi: Burapha University.
Sonsa-at, T. (2017). kānčhatkān phū mī phon samrit sūng hai mī khwām suk mūan rūam naikānthamngān kō̜ranī sưksā khārātchakān phū mī phon samrit sūng nai rātchakān Thai . Management of high achievers to have total happiness in work. A case study of civil servants with High achievement in the Thai government. Doctor of Philosophy, Doctor of Political Science. Nakhon Pathom: Mongkol Rattanakosin University.
Warr, P. (2007). Work, happiness, and unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Wongtakee, W. (2020). kānphatthanā tūa bong chī kānbō̜rihān khwāmsīang khō̜ng rōngrīan khayāi ʻōkāt thāngkān sưksā sangkat samnakngān khana kammakān kānsưksā naphư̄n thān nai phāk tawanʻō̜k chīang nư̄a . Development of risk management indicators in schools for educational opportunity expansion. Under the Office of the Basic Education Commission In the northeast region. Doctor of Philosophy Thesis. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University.