ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และ ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

อุไรวรรณ คำเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย 2) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.928 3) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.832 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.844 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test for one sample


              ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.41/77.63 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 0.6175 3) มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชน
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิราพร มาพริก. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย เรื่อง ฟังก์ชันลอกาลิทึม สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เฉลิมวุฒิ คำเมือง, ไพรัชช์ จันทร์งาม. (2560, กรกฎาคม). การศึกษาและสร้างนวัตกรรมที่แก้ไขมโนทัศน์ที่คาดเคลื่อนทาง
คณิตศาสตร์ในสาระจำนวนและการดำเนินการของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง,
การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 ; 377-387.
ชูศรีวงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
ณัฏฐปิญชาน์ พิชญาชมชื่น. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความ
สามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค. (2559, พฤศจิกายน-มีนาคม). “การพัฒนามโนทัศน์ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ระดับประถมศึกษา”, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่13(ฉบับที่ 2) ; 45-55.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. (2561). ผลทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET.
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ปี 2557-ปี 2559. [ออนไลน์]. ได้จาก https://sites.google.com/a/ssbr.go.th/ssbr_32/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2561].
Artzt, A. F., & Shirel, Y. F. (1999). Mathematics reasoning during small-group problem solving.
Ausubel, D.P. (1968). Educational psychology : A cognitive view. New York : Holt, Rinehart
And Winston.
Eggen, P.D., Kauchak, D.P., & Harder, R.J. (1979). Strategies for teacher information
Processing models in the classroom. New Jersey : Englewood Cliffs Prentice-Hill.