การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ณัฐวรรณ แย้มละมัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม        ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บข้อมูลจากประชากร คือ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 180 คนและบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน รวม 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่น 0.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับผลดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(µ =4.24,=0.27) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม  ค่าเฉลี่ยสูงสุด(µ=4.25,=0.40) รองลงมาคือด้านผลผลิต (µ =4.24,=0.38) ด้านกระบวนการ (µ =4.24,  =0.34) และด้านปัจจัยนำเข้า (µ =4.23,=0.42) ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการประเมินผลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก  ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรการดำเนินโครงการ และด้านการสนับสนุน มีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านกระบวนการในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมาก และด้านผลผลิตเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีการดูแลและการให้ความรู้ด้านสุขภาพและจิตใจ มีความเหมาะสมในระดับมาก  

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2565) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กาญจนา วัธนสุนทร.(2552).การประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของสตัฟเฟิมบีม ในการประเมินโครงการทางการศึกษา.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักปลัดเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่น 3 ปี.(2559-2561).เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : สำนักปลัดเทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย.
พวงนรินทร์ คำปุและประกายศรี ศรีรุ่งเรื่อง.(2558).ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. (2556).การประเมินผลโครงการ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
วสิน เทียนกิ่งแก้ว. (2554). ได้ศึกษาเรื่องการประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดกระบี่. กระบี่ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2543). การประเมินโครงการ:แนวทางสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
รามคําแหง.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). โรงเรียนผู้สูงอายุ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้สูงอายุ และพัฒนาสุขภาวะคนในชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
Stufflebeam, D.L., et al.(1971). Educational Evaluation and Decision – Making. Itasca, IL : Peacock.