ผลกระทบของระบบบริหารจัดการคนเก่งและการวางแผนสืบทอดตำแหน่งที่มีผลต่อความภักดีต่อองค์กรและผลการดำเนินงานขององค์กร : หลักฐานเชิงประจักษ์จากธนาคารทหารไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บุคลากรที่มีประสิทธิภาพในองค์กรถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและการเติบโตอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการคนเก่งและการบริหารการสืบทอดตำแหน่งที่มีต่อความภักดีต่อองค์กรและผลการดำเนินงานของธนาคารทหารไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้จัดการสาขาของธนาคารทหารไทยทุกแห่งทั่วประเทศจำนวน 451 สาขา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.606 - 0.962 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.897-0.941 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ระบบบริหารจัดการคนเก่งและการวางแผนสืบทอดตำแหน่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความภักดีต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความภักดีต่อองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการสนับสนุนจากผู้บริหารมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนสืบทอดตำแหน่งและความภักดีต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นระบบบริหารจัดการคนเก่งและการวางแผนสืบทอดตำแหน่งจะทำให้เกิดความภักดีต่อองค์กรและส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นขององค์กรในท้ายที่สุด ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร เพื่อให้ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ: ระบบบริหารจัดการคนเก่ง; การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง; ความภักดีต่อองค์กร; ผลการดำเนินงานขององค์กร; การสนับสนุนจากผู้บริหาร
Article Details
References
Chadee, D. & Raman, R. (2012). External knowledge and performance of offshore IT service providers in
India: the mediating role of talent management. Asia Pacific Journal of Human Resources, 50, 459–482.
Jen, C-K., Chou, L-F., Lin, C-Y. & Tsai, M-C. (2012). The influence of the perception of a familial climate on job performance: Mediation of loyalty to supervisors and moderation of filial behavior. International Journal of Psychology, 47(3), 169-178.
Jyoti, J. & Rani, R. (2014). Exploring talent management practices: antecedents and consequences. International Journal of Management Concepts and Philosophy, 8(4), 220-248.
Sharma, P., Chrisman, J. J. & Chua, J. H. (2003). Succession planning as planned behavior: Some empirical
results. Family Business Review, 16(1), 1-15.
Schepker, D. J., Nyberg, A. J., Ulrich, M. D. & Wright, P. M. (2018). Planning for Future Leadership: Procedural
Rationality, Formalized Succession Processes, and CEO Influence in CEO Succession Planning. Academy of Management Journal, 61(2), 523-552.
กรุงเทพธุรกิจ. (2560). แบงก์พาณิชย์ มองต่างมุม ‘ปิดสาขา-ลดพนักงาน.’ รับมือยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2560,
จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/790516.
ธนาคารกสิกรไทย. (2558). ทางออก 4 ปัญหายอดฮิตเรื่องการบริหารคน. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2561, จาก
https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/HRMTips/Pages/Top4HRMProblems.aspx.
ปัทมา อินทรจันทร์, เกษราภรณ์ สุตตาพงค์ และยุวดี ลีเบ็น. (2560). กลยุทธ์การสร้างและพัฒนาผู้นำองค์กรรุ่นถัดไป. วารสาร
การจัดการสมัยใหม่. 15(1), เดือนมกราคม – มิถุนายน, 45-54.