ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็ง เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์

Abstract

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะซึมเศร้า 2) คุณภาพชีวิต 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยมะเร็งในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งอายุ 18 ปีขึ้นไป คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง 69 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย  ข้อมูลทั่วไป , แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค และแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ปวยมะเร็ง ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ใช้สถิติวิเคราะห์คือจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ของสเปียร์แมน

    ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่  เพศหญิง อายุเฉลี่ย 60 ปี (S.D. =11.7)  อาชีพการเกษตร รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ส่วนใหญ่ทราบข้อมูลการเจ็บป่วยและระดับความรุนแรงของโรค 2) ผลการศึกษาภาวะซึมเศร้าพบว่า ร้อยละ 75.4 มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับรุนแรง  3) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rho = -0.68 , p-value <0.01)  ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในประชากรกลุ่มนี้  การดูแลทางกายและการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อบรรเทาความทุกข์ทางใจ ลดภาวะซึมเศร้า จะช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)