ดนตรีพม่าในการแสดงพระธรรมเทศนา : กรณีศึกษาวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจว วัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

สำเริง ปานดิษฐ์
รุจี ศรีสมบัติ

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวงซายวาย คณะเซ่ยเมี๊ยะโจววัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด       อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2)ศึกษาและวิเคราะห์ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงพระธรรมเทศนาของวงซายวาย คณะเซ่ยเมี๊ยะโจว วัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด  อำเภอแม่สอด จังหวัดตากการวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ได้ใช้ วิธีการดำเนินการวิจัยตามหลักมานุษยดุริยางควิทยา ได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ โดยการเก็บ ข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์ การสังเกต แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์เรียบเรียงตามลำดับความสำคัญ
     ผลการวิจัยพบว่า 1) นักดนตรีในวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจวฯ ยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างสมบุญกุศล      และให้ความเคารพแก่อนันตคุณ 5 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูอาจารย์ และเทพนอกจากการบรรเลงดนตรีแล้ว อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น เวที ฉากหลังเวที แผงกั้นบังเครื่องดนตรี เทคโนโลยีที่ใช้อำนวยความสะดวกในการแสดงต่างๆ ก็มีความสำคัญต่อการแสดงทุกครั้ง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจวฯ ประกอบด้วยซายวาย  มองซาย แต๊ปัตตะลา เชาก์โลงปัต ซะคั่วะ ปาม่า ซีเนวา หย่างกุ๋ย มองจี ซีโด ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่จัดอยู่ในตระกูลเครื่องตีที่เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของมวลวัตถุกับ เครื่องตีที่เสียงเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นหนังการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะใช้เพลงประกอบพิธีทั้งหมด 5 เพลง คือ ทูมะชานา  ผยา ตะยา แต็งกา อะลูดอ เม็งกะลา เหย่เจ และ เม็งกะลา บียอ 2) หลังจากที่ได้นำเพลงทั้ง 5 เพลงมาศึกษาวิเคราะห์แล้ว พบว่า มีการใช้กลุ่มเสียงในระบบเสียง 5 เสียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียง มี ฟา ซอล ที โดและ กลุ่มเสียง ฟา ซอล ลา โด เรในแต่ละเพลงจะมีการแปรลักษณะจังหวะของทำนองและลักษณะจังหวะของเครื่องกำกับจังหวะไว้อย่างหลากหลายโดยไม่ซ้ำแบบเลย หรือจะมีซ้ำบ้างก็น้อยมาก ลักษณะพื้นผิวของดนตรีเป็นแบบ Heterophonic texture คือ เมื่อเครื่องดนตรีทำนองชิ้นใดกำลังบรรเลง แนวทำนองเพลงอยู่เครื่องดนตรีทำนองชิ้นอื่นก็จะใช้วิธีการแปรทำนองไปด้วย ในการแปรทำนองแต่ละครั้งจะไม่เหมือนเดิม และทำนองจะไม่ถูกเล่นโดยเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งทั้งเพลง แต่จะผลัดกันเล่นทำนองเป็นบางช่วง ทำนองของเพลงที่วิเคราะห์ ทั้ง 5 เพลง จะมีความยาวเสียงไม่เกิน 1 จังหวะเคาะ อันอาจเกิดจากเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องจังหวะที่มีเสียงสั้นอยู่แล้ว และบางครั้งผู้บรรเลงก็จะตัดเสียงให้สั้นลงไปอีกโดยแปลทำนองให้มีจำนวนตัวโน้ตเพิ่มมากขึ้นในเวลาอันจำกัด

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)