แนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย

Main Article Content

มนูศักดิ์ เรืองเดช
นราพงษ์ จรัสศรี

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษางานรูปแบบของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนบริบทของสังคมไทยเรื่อง “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life” ผลงานสร้างสรรค์ของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์  จรัสศรี 2) ศึกษาแนวความคิดในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนบริบทของสังคมไทย
    ผลการวิจัยพบว่า งานศิลปกรรมทุกแขนงสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการนำเอาความหมายของพุทธศาสนา           ผ่านเทคนิค วิธีการของการแสดงออกทางงานศิลปะนั้นได้ดังนั้นงานพุทธศิลป์จึงเป็นความงดงามทางศิลปกรรมที่แฝง     ไปด้วยสัญญะทางพุทธศาสนานั่นเอง รูปแบบในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life” 1) รูปแบบของบทการแสดง คือ ดอกบัวเป็นสื่อที่จะสื่อให้ผู้ชมในระดับที่ลึกซึ้งถ้อยคำของภาษาเขียนที่เรียกว่า วัจนภาษา การเคลื่อนไหว ดอกบัวที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แทนผู้คน อารมณ์ เหตุการณ์ต่างๆ ปรัชญาเป็นอวัจนภาษาในงานชุดนี้ ดอกบัวยังได้ใช้พัฒนาและปรากฏอยู่ในงานเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา วิถีชีวิตความเชื่อในการนับถือพระพุทธศาสนาในบริบททางสังคมไทย 2) แนวคิดในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สะท้อนถึงบริบทของสังคมไทยผ่านการแสดงชุด “Contemporary Visuality of Thai Philosophy of Life” พบว่า การแสดงได้กำหนดแนวคิด (Concept) ร่วมกันที่จะนำเสนอผลงานการแสดงดั้งเดิมของกลุ่มประเทศอาเซียนผ่านมุมมองของศิลปะสมัยใหม่ นราพงษ์ จรัสศรี ได้นำพื้นฐานความคิดจากความเชื่อพื้นฐานทางวัฒนธรรมและนาฏยศิลป์เดิมของไทยผสมผสานกับศิลปะการแสดงตะวันตก โดยใช้องค์ประกอบต่างๆ ที่มีการแสดงผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและสากลสอดรับแนวคิดจากความเชื่อกระบวนการ นาฏยประดิษฐ์ผ่านเรื่องราว ปรัชญา วิถีชีวิต สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ในลักษณะของความเป็นไทย การสร้างสรรค์งานในบางอย่างมีคุณค่าตามหลักปรัชญาสุนทรียศาสตร์เรื่องรูปแบบสุนทรียะอย่างไรก็ตามการแสดงชุดนี้มีคุณค่าทางนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยตามหลักวิชาการคือเป็นศิลปะที่พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันมีวัฒนธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสรรค์การแสดงชุดนี้ใช้รูปแบบการแสดงที่มีลีลาท่าทางของตะวันตกและลีลาท่าทางด้านนาฏยศิลป์ไทยเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยตรงตามวัตถุประสงค์

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)