การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหาร โรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ประภัสสร บุญบำเรอ
จำนง วงษ์ชาชม
วัลนิกา ฉลากบาง
ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

Abstract

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบการบริหารหารมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน   7 คน และการศึกษาพหุกรณีโรงเรียนเอกชนต้นแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน จำนวน 2 โรงเรียน โดยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ และระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบ โดยสอบถามคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 762 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

    ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยสนับสนุนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีความรู้ความสามารถ  การมีวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์กรที่เอื้อต่อการทำงาน และการมีความรักความผูกพันต่อองค์กร องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการวางแผนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และองค์ประกอบที่ 3 ประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องความสามารถในการปรับตัวของโรงเรียน และความสามารถในการแก้ไขปัญหาของโรงเรียน 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.=0.10) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยสนับสนุนการบริหารแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51 S.D.=0.38) ประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D.= 0.47) และกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D.=0.37) ตามลำดับ 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)