ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน

Main Article Content

มะยุรี วงค์กวานกลม

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชาวไทยอีสาน ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุในชุมชนชนบท จังหวัดนครพนม จำนวน 25 คน และหมอพื้นบ้าน จำนวน 20 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


     ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในบริบทสังคมวัฒนธรรมอีสาน ยังคงมีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตใน 3 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) “ผูกเสี่ยว” สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เป็นการนำประเพณีผูกมิตรของชาวอีสานมาใช้ในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ทำให้ผู้สูงอายุมีแหล่งสนับสนุนทางสังคม มีที่ปรึกษา สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ และมีความสุขในการดำรงชีวิต 2) “เหยา” เยียวยาจิตใจ เป็นการนำพิธีกรรมพื้นบ้านมาใช้ในการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิต ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า รู้สึกปลอดภัย มีจิตใจที่มั่นคง มีความหวัง และมีพลัง และ  3) “บายศรีสู่ขวัญ” คืนสู่สุขภาวะทางจิต เป็นการนำพิธีกรรมพื้นบ้านมาใช้ในการฟื้นฟูสุขภาพจิต ช่วยให้มีขวัญกำลังใจ มีคุณค่าในตนเอง มีความหวัง สบายใจ และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต ผลการศึกษาครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตที่สอดรับกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมของผู้สูงอายุชาวไทยอีสานในยุคปัจจุบัน


 


 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)