การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลคนพิการและครอบครัวในระดับบริการปฐมภูมิ ร่วมกับสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย

Main Article Content

ปิยรัตน์ ชูมี
กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์
ลักคณา บุญมี

Abstract

การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงคนพิการและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประกอบขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ                 1) การศึกษาหาความรู้ความเข้าใจด้านคนพิการและครอบครัว ได้แก่ การศึกษาจากเอกสารวิชาการ วรรณกรรม กฎหมาย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องคนพิการ  ศึกษาจากสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ณ ชุมชน  2) การรวบรวมและจัดระบบฐานข้อมูลคนพิการจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน 3) การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง บริบทชุมชน สหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  4) การลงพื้นที่จริง ค้นหาและวิจัยศึกษาข้อมูลคนพิการและครอบครัว 5) การดึงการมีส่วนร่วมของคนพิการ ครอบครัว สหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายในการจัดโครงการ และกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์คือผลการวิจัยและจัดเวที สาธารณะในการร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6) การปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดูแลแบบองค์รวม คนพิการและครอบครัวโดยมีกิจกรรมเยี่ยมบ้านคนพิการที่มีข้อจำกัดในการบริการร่วมกันของสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย 7) การพัฒนาระบบบริการคนพิการและครอบครัวในการรับบริการที่สถานบริการระดับปฐมภูมิเชื่อมโยงไปยังสถานบริการระดับตติยภูมิ เช่น การทำคู่มือคนพิการและครอบครัว สร้างช่องทางด่วนพิเศษ การลดขั้นตอนในการรับบริการในการขอเอกสารรับรองความพิการ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพยาบาล ณ ที่บ้านคนพิการในกรณีทีคนพิการมีข้อจำกัดในบริการ

Abstract

 

Advance nursing care that involves multi-professional and network can promote the disabled and family can better achieve their quality of life.  Which involves 7 following stages.1)Study and understand the context. In this stage. the nurses as service providers should study academic reports. related literatures. law and regulations. and research involving the disabled. In addition. the service providers should understand and learn from multi-professionals and networks in the community that work for the disable and family. 2) Collect data and develop a database about the disabled. The data from every involving party and database should be updated. 3) Conduct SWOT analysis. SWOT analysis or need assessment of the organization. where the service providers are working at. community. multi-professional. and involving networks should be done to explore strengths and weaknesses of the services. 4)Practice in the field.  The providers should work in the field in order to identify problem and conduct research on the disabled and family. 5) Participate in the project. The providers should promote the disabled and family. multi-professional and networks in participating in a project for the disabled. The project activities to solve the problems of the disabled should be based on evidence-based practice and public hearing for learning and sharing. 6) Improve and develop a holistic care for the disabled and family. The component of care should include home visits from the multi-professional for the disables. who have limitations coming to receive services at involving organizations. 7) Develop the service system for the disable and family. The service system for the disabled at primary care organizations should be established and linked to higher level of care and involving service organizations.  

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)