การพัฒนาแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยหลังได้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

Main Article Content

Siwapon Srikeaw
Chayawaruk Sujjavanich

Abstract

     การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยหลังได้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน ซึ่งผู้ที่ใช้แบบบันทึก ได้แก่ วิสัญญีพยาบาลและพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย แบบบันทึกพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ประกอบด้วย พยาบาลวิสัญญีจำนวนพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วย และวิสัญญีแพทย์ระยะเวลาในการพัฒนาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วย3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมการ ขั้นดำเนินการ การสังเกตและการสะท้อนการปฏิบัติและปรับปรุงแผน ทดสอบความตรงทางด้านเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน  ทดสอบความเที่ยงด้วยวิธี Inter-rater ทดลองใช้แบบบันทึกส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 30 ราย เปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกก่อนและหลังพัฒนาแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย

     ผลการศึกษา พบว่า ผลลัพธ์ด้านแบบบันทึก แบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยหลังได้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การวินิจฉัยโรค ชนิดของการผ่าตัด จำนวนการเสียเลือด เลือดและสารน้ำที่ได้รับ ยากลุ่มความเสี่ยงสูงที่ได้รับ ชนิดของการใส่ท่อช่วยหายใจ การคาอุปกรณ์อื่นๆ ไว้ในร่างกายเครื่องมือเฝ้าระวังและติดตามต่อเนื่องและภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวังขณะส่งต่อ  แบบบันทึกมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1.00 ทดสอบค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89พยาบาลผู้ใช้แบบบันทึกมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจหลังพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด (80%, = 4.52, SD= 0.40)

ผลลัพธ์ด้านคลินิก พบว่า ก่อนใช้แบบบันทึกมีจำนวนเหตุการณ์การส่งต่อไม่สมบูรณ์ จำนวน 2 ราย (Rate= 66.66:1,000) ภายหลังใช้แบบบันทึกไม่มีเหตุการณ์การส่งต่อไม่สมบูรณ์ (Rate= 0:1,000) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า แบบบันทึกส่งต่อผู้ป่วยหลังได้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเครื่องมือสื่อสารทางพยาบาลที่มีคุณภาพทั้งความตรงและความเที่ยงและสามารถเพิ่มผลลัพธ์ทางคลินิกได้จริง

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research article)