การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเรื่อง ทักษะการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโต้ตอบ ทางสรีระและการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์

Main Article Content

อรพินทร์ เพียพล
ทัศนา ประสานตรี
มนตรี อนันตรักษ์

Abstract

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ เรื่องทักษะการอ่าน ระหว่างการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบโต้ตอบทางสรีระและการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์ 2) เปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ เรื่องทักษะการอ่าน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโต้ตอบทางสรีระ และการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแพงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 จัดการเรียนรู้แบบโต้ตอบทางสรีระ เป็นกลุ่ม ทดลองที่ 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 35 คน จัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์ รวมทั้งหมด 70 คน ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก ระหว่าง 0.25–0.35 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20-0.36 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 แบบทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบปรนัย ชนิดเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.25 -0.36 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.53-0.88 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโต้ตอบทางสรีระมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ (\inline \bar{X} = 32.86 S.D. = 1.33) และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ (\inline \bar{X} = 34.43 S.D. = 1.27) ผลไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์ มีค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนแบบโต้ตอบทางสรีระ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียน แบบโต้ตอบทางสรีระ (\inline \bar{X} = 33.14 S.D. = 1.27) และนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์ (\inline \bar{X} = 34.03 S.D. = 1.33) ผลไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอร์ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนแบบโต้ตอบทางสรีระ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

     The purposes of this study were: 1) to compare students’ achievement in learning English on ‘reading skill’ between the learning activity arrangements with the total physical response method and jigsaw cooperative learning group, 2) to compare students’ English communicative skill on the subject of reading skill between the learning activity arrangements with the total physical response method and jigsaw cooperative learning group. The population was grade 5 students in Banphaeng Withaya School under Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 2. A sample used as selected by cluster random sampling with a total of 70 grade 5 students enrolled in the first semester of academic year 2012 was divided into 2 groups of an equal number of 35. The first group from grade 5 students in room 3 was assigned to be in treatment group 1 whose learning was managed using the total physical response method, while the second group from grade 5 students in room 1 was managed using jigsaw cooperative learning group. The instruments used were a 40-item objective test of English learning achievement with 4 choices whose difficulty values ranged between 0.25 and 0.35, discrimination power values between 0.20 and 0.36 and reliability value was 0.96; a 40-item objective test of English communicative skill with 4 choices whose difficulty values ranged between 0.25 and 0.36, discrimination power values between 0.53 and 0.88 and reliability value was 0.93. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t-test for independent samples.

The findings disclosed as follows: 1) the students who were treated with the learning activity arrangement using the total physical response method had a mean score of 32.86 (S.D. = 1.33) in learning achievement, while those who were treated with the learning activity arrangement using jigsaw cooperative learning group had a mean score of 34.43 (S.D. = 1.27). The result was not in accordance with the stated hypothesis. The learning activity arrangement by jigsaw cooperative learning group gained a significantly higher students’ learning achievement than that obtained from learning activity arrangement through the total physical response method at the .01 level; 2) the students who were arranged with learning activity using the total physical response method (\inline \bar{X} = 33.14 S.D. = 1.27) and those who were arranged with learning activity using jigsaw cooperative learning group (\inline \bar{X} = 34.03 S.D. = 1.33) showed their results which were not in accordance with the stated hypothesis. English communicative skill among the students who were arranged with learning activity using jigsaw cooperative learning group was significantly at higher level than that found among those who were arranged with learning activity using the total physical response method at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic article)