กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชานาฏศิลป์ในสถาบันอุดมศึกษาภาคอีสาน รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัย เชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และข้อมูลภาคสนาม กำหนดผู้ให้ข้อมูลด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์และภาพประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาคอีสานมีสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิชานาฏศิลป์ จำนวน 12 สถาบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่มสถาบัน ได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และกลุ่มสถาบันเฉพาะทาง ได้แก่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัย นาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา หลักสูตรจำแนกเป็น 2 สาขา คือ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต /ศึกษาศาสตรบัณฑิต ทั้งสองหลักสูตรมีกระบวนการเรียนการสอนเป็นสหวิทยาเชิงบูรณาการ โดยมุ่งเน้นองค์ความรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับทักษะการปฏิบัติ 2. การสร้างสรรค์ผลงานนาฏศิลป์เป็นทักษะขั้นสูงของการศึกษา เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ต้องประยุกต์ใช้หลักการทฤษฎีนาฏศิลป์ที่สืบทอดมาแต่โบราณร่วมกับหลักทฤษฎีวิชาการสมัยใหม่จนเกิดเป็นหลักการเฉพาะของศาสตร์วิชานาฏศิลป์ เรียกว่า “การวิจัยเพื่อการสร้างสรรค์” ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาการสารสนเทศ และ 2) กระบวนการสร้างสรรค์ เป็นการคิดออกแบบและประกอบสร้างผลงานนาฏศิลป์ ดังนั้น การวิจัยเพื่อการสร้างสรรค์จึงเป็นการพัฒนาการอุดมศึกษาสาขาวิชานาฏศิลป์แบบคู่ขนานระหว่างวิชาการและวิชาชีพให้ก้าวหน้ามีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่ากับศาสตร์วิชาอื่นๆ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรและการเรียนการสอนนาฏศิลป์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมสอดคล้องกับความก้าวหน้าของสังคมในปัจจุบัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Achayutthakan, M. (2004). Fundamentals of choreography. Bangkok : Chulalongkorn University.
Iamsakul, C. (2011). Art of Dance Choreography: Creative Thai Dance. Bangkok : Thammasart University.
Kamket, W. (2012). Behavioral science research methods. (3rd ed). Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Nakowong, S. (2022). Development of the Classical Dance Instructional Packages Entitled “Choreography” Using Harrow’s Performance Skills Model and Cooperative Learning Management for Mathayom Suksa 3 Students (Unpublished Master’s Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon, Thailand.
Natayakul, S. (2022). Creating works in Thai classical dance. Khon Kaen : Klangnana Vitthaya Printing House.
Pothivechakul, S. (2007). Thai classical dance education in the Rattanakosin era (Reign of King Rama IX). Bangkok : Suan Sunandha Rajabhat University.
Sabpasri, P. (2023). The Scenario of Curriculum Thai Classical Dance Education of Thailand (Unpublished Doctoral Thesis). Srinakharinwirot University, Bangkok, Thailand.
Sinlarat, P. (1999). Higher Education Administration: Principles and Guidelines According to the Reform Approach. Bangkok : Office of the National Education Commission.
Tepwong, S. (1998). Thai classical dance: Dance for elementary teachers. Bangkok : O.S. Printing House.
Uparamai, W. (2010). Drama and theatre. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Vechsuruck, S. (2004). Choreographic principle of Thanpuying Paew Sanithwongseni (Unpublished Doctoral dissertation). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.
Vingvorn, S. (2000). Writing works in Thai classical dance. Bangkok : Chulalongkorn University.
Virulrak, S. (2004). Principles of Thai classical dance performance. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Virulrak, S. (2006). Thai classical dance in the reign of King Rama IX. Bangkok : Chulalongkorn University Press.