การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติและเจตคติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการปฏิบัติและเจตคติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติและ เจตคติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา จำนวน 103 คน ได้มาจากการหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยวิทยาเขตสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.53, S.D. = 0.38) 2) เจตคติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58,S.D. = 0.35) และ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติและเจตคติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา โดยรวมมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับ .54** ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education Objective Handbook. New York: David McKay.
Chongkrantong, S.(2016).Recreation practices of undergraduate students majoring in Recreation Srinakharinwirot University. Bangkok : Srinakharinwirot University.
Department of Physical Education. (2020). Concepts for the development of recreational activities. Bangkok : Department of Physical Education.
Domjan, M. (2016). The achieving society. Princeton, New Jersey : Van Nostrend.
Herzberg, F. (1971). The Motivation to work. New York : John Wiley & Sons.
Kanjanakit, S. (2019). Recreation and tourism industry. Bangkok : Publisher of Chulalongkorn University
Khamphliu,J. (2018). Relationship between attitude and behavior regarding recreation of students at Rajamangala University of Technology Krungthep. Bangkok : Srinakharinwirot University.
Maslow, A. H. (1970). Motivation and personality (2nd ed.). New York : Harper & Row.
Ministry of Tourism and Sports. (2020). Annual Develop personal. Bangkok : Ministry of Tourism and Sports.
Nawakan, A. (2018). Recreation (3 rd ed). Bangkok : Srinakharinwirot University.
Sankhaburanurak, A.& Sankhaburanurak, S.(2015).Curriculum management.In the 21st century: The classroom is as wide as the world. Sakon Nakhon : Sakon Nakhon Rajabhat University.
Sarak, P. (2013).Students' opinions on participating in student activities.King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. Bangkok : Srinakharinwirot University.
Sisa-aad, B. (2022). Basic Research. Bangkok : Suriyasat.
Somruedee C. (2017). Quality of life in work. Work problems that affect the performance of employees of the Fuel Pipeline Transportation Company Limited. Bangkok : Sripatum University.
Student Affairs Division Rajamangala University of Technology. (2022). Student Development, Fiscal Year 2023. Songkhla : Tempe Printing.
Sunthornroj, W. (2019). Innovation for learning (4th ed.). Maha Sarakham: Curriculum and Learning Department.
Watson, J. (1997). The theory of human caring: Retrospective and prospective. Nursing science quarterly, 10(1),49-52.
Worakam, P. (2018). Preliminary research. Bangkok : Taksila Printing.
Wolman, B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. Van Nostrand : Reingeld Company.