การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเปียโนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

akachai teerapuksiri
พงษ์พิทยา สัพโส
พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพของการจัดการเรียนการสอนเปียโน พัฒนารูปแบบการจัดการสอนเปียโน และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนเปียโน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยอาจารย์ผู้สอนเปียโน จำนวน 12 คน และนักศึกษาวิชาเอกเปียโน จำนวน 10 คน ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามแสดงความคิดเห็น และรูปแบบการสอนเปียโน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนเปียโน ด้านการจัดการเรียนการสอนเปียโน ปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น พบว่า  พื้นฐานที่แตกต่างกันของนักศึกษา ความพร้อมในการเรียน พัฒนาการด้านการเรียนปฏิบัติเปียโนที่ต่างกัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนที่วางแผนไว้แต่ละภาคเรียน มีความจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานของนักศึกษาที่ต่างกัน 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการสอนเปียโน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักการของรูปแบบการสอน (   = 4.75, S.D. = 0.12)  ด้านเอกสารประกอบการสอน   ( = 4.71 , S.D. = 0.14)  ด้านสภาพปัญหาและความจำเป็นของรูปแบบการสอน  ( = 4.60 , S.D. = 0.15)  ด้านโครงสร้างของรูปแบบการสอน ( = 4.58 , S.D. = 0.11)  ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ( = 4.56 , S.D. = 0.14)  และด้านจุดมุ่งหมายของรูปแบบการสอน ( = 4.55 , S.D. = 0.26)  มีความเหมาะสมมากที่สุดตามลำดับ และ 3) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนเปียโน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเปียโน ของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

Dechkumpoo, S. (2016). kānphatthanā thaksa kān patibat pīa nō læ khībō̜t dōi chai chut kitčhakam samrap nakrīan chan matthayommasưksā tō̜n ton [A Study on the Development of Lower-secondary Level Students’ Piano and Keyboard Skills through the Use of the activity Package] A Thesis for the Degree of Master of Education, Department of Curriculum and Instruction: Dhurakij Pundit University.
Khammanee, T. (2015). sāt kānsō̜n : ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp [Teaching Methods : Knowledge for organizing learning processes that are Efficiency]. 19th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Laithong, C. (2017). phonkānchai chut bǣp fưk tām nǣokhit khō̜ng khān ʻō̜fō̜ phư̄a phatthanā khwāmkhaočhai thāng dān čhangwa khō̜ng nakrīan wong yōthawāthit radap prathom sưksā [Effects of Using Exercises Based on Carl Orff’s Approach To Develop Rhythmic Understanding In Elementary School Band Students]. A thesis for Degree of Master Program in Music Education, Bangkok : Chulalongkorn University.
Laowanich, M. (2016). rīanrū čhāk khrū pīa nō. [Learning from Piano Teacher] Bangkok: Cyber Print Group Limited.
Namsanga, P. (2019). kānphatthanā krabūankān čhatkān rīan ru pīanō samrap naksưksā sākhā dontrī mahāwitthayālai rātchaphat Maha Sarakham[The Development of Piano Learning Management for Music Students Maha Sarakham Rajabhat University] A Thesis for the Degree of Doctor of Philosophy in Music. Khon Kaen University.
Paisarnsrisomsuk, A. (2016). nǣothāng kānčhatkān rīan kānsō̜n pīa nō dōi kān sathō̜n khit phư̄a phatthanā thaksa kān banlēng pīa nō samrap nakrīan pīa nō radap klāng. [Guidelines for Organizing Reflective Thinking Piano Lesson to Develop Piano Skill of Intermediate Piano Students] A thesis for Degree of Master Program in Music Education, Bangkok: Chulalongkorn University.
Saylor, J.G., W. Alexander and A. J. Lewis. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and
Learning. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Seymour, F.(1992). Mastering Piano Technique. Portland: Amadeus Press.
Suttachitt, N.(2012). dontrī sưksā : lakkān læ sāra samkhan [Music Education: Foundations and Principles ] Bangkok : Chulalongkorn University Press.
Taba, H. 1962. Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and World.

Wongyai, W. (2011). kānphatthanā laksūt radap ʻudomsưksā [The Curriculum Development of Higher Education]. Second Edition : R&N Print Group Limited.
Worakham, P. (2012). kānwičhai thāngkān sưksā [Educational Research]. 4Th Edition. Mahasarakham : Taxila Print Group Limited