การพัฒนาระบบบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตาบลคาชะอี อาเภอคาชะอี จังหวัดมุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพลักษณะการประกอบการ แนวทางการจัดทาบัญชี และสภาพปัญหาใน
การจัดทาบัญชีของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านกกไอ ตาบลคาชะอี อาเภอคาชะอี จังหวัดมุกดาหาร และ 2) พัฒนาและเสนอ
ระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการบริหารของกลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านกกไอ ตาบลคาชะอี อาเภอคาชะอี จังหวัด
มุกดาหาร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง
จานวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการประกอบการเป็นรูปแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว มีสภาพ
ปัญหาในการจัดทาบัญชี คือมีคู่มือบัญชีกลุ่มผู้ผลิตหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แต่ไม่นามาถือปฏิบัติ
เนื่องจากมีความซับซ้อนและมีภาระหน้าในการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าทาให้ไม่มีการลงบัญชีตามคู่มือ
จะมีเพียงการบันทึกรายรับ-รายจ่าย ซึ่งไม่มีการจัดทาอย่างเป็นระบบ ไม่มีการอ้างอิงเอกสาร ไม่มีหลักฐานการเบิกจ่ายเงิน
ไม่มีการควบคุมปริมาณสินค้า ข้อมูลที่ได้จึงขาดความน่าเชื่อถือและไม่สามารถจัดทาข้อมูลตามความต้องการเพื่อวางแผนและ
ตัดสินใจในการดาเนินงานได้ 2) ระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการบริหารควรมีรูปแบบสมุดบัญชีตามเกณฑ์เงินสด
รวมทั้งหมด 7 เล่ม ประกอบด้วย สมุดบัญชีเงินสดรับ สมุดบัญชีเงินสดจ่าย สมุดคุมงานระหว่างทา สมุดคุมสินค้า สมุดคุม
วัตถุดิบ สมุดงบต้นทุนการผลิต และสมุดงบรายได้และค่าใช้จ่าย และระดับความเห็นต่อการพัฒนาระบบบัญชีที่พัฒนาร่วมกัน
พบว่า ระบบบัญชีมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.49) โดยสมาชิกกลุ่มให้ความเห็นว่า
การพัฒนาระบบบัญชีที่เกิดขึ้นมีความเหมาะสมกับกลุ่ม ทาให้ทราบผลการดาเนินงานของกลุ่มอย่างแท้จริง ทาให้สามารถรู้
ต้นทุนและกาไร ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่ม รายได้ให้สมาชิกในกลุ่มได้
Article Details
References
ชุติมันต์ สะสอง และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2559). ความร่วมมือของผู้มีส่วนได้เสียและแผนธุรกิจที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจหนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6(1) ; 124-133.
ดุษณีย์ ส่องเมือง. (2555). การออกแบบระบบบัญชี. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์. (2558). ระบบบัญชีการเงินของโครงการหนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านชุมชนปิ่นดาริห์ อาเภอเมือง จังหวัดกาแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วิทยาการจัดการวิชาการ 2015 : วิจัย เพื่อสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน”. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
นภาพร เคลื่อนเพชร. (2557). การพัฒนาระบบบัญชีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บันเฉย ศรีแก้ว, วิภาภรณ์ ศรีหาธาตุ และปิยะณัฐ ถุนพุทธ. (2559). การพัฒนารูปแบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชนทอผ้า สีธรรมชาติ: กรณีศึกษากลุ่ม บ้านหนองหัววัว ตาบลโคกสี อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 22 (2) : 123-130.
รุ่งนภา ชาญเชี่ยว. (2555). โครงการพัฒนาระบบบัญชีและออกแบบเอกสารทางบัญชี กรณีศึกษา ร้านเทนพลาสติก อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่. เชียงใหม่ : วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.
ศศิวิมล มีอาพล. (2556). หลักการบัญชีเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : อินโฟไมนิ่ง จากัด.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2538). ศัพท์บัญชี. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สรัชนุช บุญวุฒิ. (2558). ปัญหาและรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของระบบบัญชี สำหรับวิสาหกิจชุมชน : กลุ่มผู้ผลิตข้าวแต๋น บ้านหนองหล่าย อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. การประชุมสัมมนาวิชาการนาเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 161 – 172. ลาปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ.2555 -2559. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2557, จาก http://www.nesdb.go.th/.
เจตปรียา ใจตรง. (2559, 12 มกราคม). ประธานกลุ่มสตรีเย็บผ้าบ้านกกไอ ตาบลคาชะอี อาเภอคาชะอี จังหวัดมุกดาหาร [สัมภาษณ์].
สานักงานจังหวัดมุกดาหาร.(2557). รายงานการประชุม, มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2557, จาก http://www.mukdahan.go.th/.