รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

อรอนงค์ แสนคำ
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร
วาโร เพ็งสวัสดิ์
วัลนิกา ฉลากบาง

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียน  2) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ การวิจัยระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว และครูประจำชั้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 426 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์
    ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย  อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดู บรรยากาศในชั้นเรียน อัตมโนทัศน์ของนักเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ส่วนทักษะชีวิตนักเรียนประกอบด้วย ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง การคิดการตัดสินใจและแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อัตมโนทัศน์ของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ บรรยากาศในชั้นเรียน  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนตามลำดับ บรรยากาศในชั้นเรียนมีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ อัตมโนทัศน์ของนักเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดู โดยปัจจัยที่ข้างต้นสามารถร่วมกันอธิบายทักษะชีวิตนักเรียนได้ร้อยละ 79

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. (2548). คู่มือการเลี้ยงลูก. สืบค้นเมื่อ กันยายน 2560, จาก https://www. rcpsycht.org/cap/book04_4.php.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ภรนุชนาฏ อรรถาเวช. (2556). การพัฒนารายวิชาที่เสริมภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อประสมเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาและแรงจูงใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มติชนออนไลน์. (2560). เด็กไทยวันนี้ นักวิชาการจุฬาฯ แฉสถานการณ์เด็กไทยมีปัจจัยเสี่ยง ความรุนแรง แม่วัยใส ยาเสพติด สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2556, จาก https://www.matichon.co.th/news/418603.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และ สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2553). ทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
รังสรรค์ โฉมยา. (2552). รวมศัพท์ที่สำคัญทางจิตวิทยา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลักขณา สิริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2552). จิตวิทยาการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ส่งเสริมวิชาการ.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2556). รายงานการวิจัย โครงการพัฒนาสมรรถนะระบบที่ปรึกษาให้สภาเด็กและเยาวชนในประเทศไทย สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2556, จาก https://dcy.go.th/webnew/upload/download/file_th_20152411004218_1.pdf.
สมศรี ประเสริฐวงษ์. (2541). การอบรมและเลี้ยงดูเด็ก.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดค่ายเสริมสร้างทักษะชีวิต : ปัญหาหยุดยั้งด้วยพลังเด็กและเยาวชน. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2559, จาก https://promote.nma6.go.th/wp-content/uploads/2016/05/ skills-camp.pdf
สุทธิชัย ผ่านสุวรรณ. (2559, กันยายน - ธันวาคม). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคุณภาพครูที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(3) 67 – 74.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall.
Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st century skills : Rethinking how students learn, Bloomington, United State of America, Solution Tree Press.
Claire, C., & Solveig, A. (2013). Influence of friends on children’s physical activity. American Public Health Association . American Journal of public health, 103(7): e23-e38.
Emily, N. & Ronald, J. (2016). Interventions to address parenting and parental substance abuse: Conceptual and methodological considerations. Journal of HHS Public Access, 39: 71-82.
Kabeer, S., & Mona El-Nady, T. (2016). Relationship between academic self-concept and students’ performance among school age children. American Journal of Nursing Science, 5(6): 295-302.
Maxwell, R. (1981). Life after school: A social skills curriculum. New York : Pregamon International Library.
McClelland, D. C. (1953). The achievement motive. New York : Appletion Century Crotts.Inc.
Roger, D. (1969). Issue in adolescent psychology. New York : Mcredith Cooperation.