อิทธิพลของพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อการศึกษาดนตรีตะวันตกในประเทศไทย

Main Article Content

บพิตร เค้าหัน
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี
ไพศาล สุวรรณน้อย

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อการศึกษาดนตรีตะวันตกที่มีรูปแบบการจัด    การเรียน การสอนแบบในระบบ แบบนอกระบบ และแบบตามอัธยาศัยในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นวิธีการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ และศึกษาเอกสาร โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์คำศัพท์ดนตรี ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือโดยวิธีตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูล โดยจำแนกหมวดหมู่ตามประเด็นที่ศึกษา แล้วเชื่อมโยงข้อมูลให้สอดคล้องตามประเด็นที่ศึกษา หาความสัมพันธ์ของข้อมูล หาความหมาย และตีความเพื่อหาข้อสรุปแต่ละประเด็น


    ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลต่อการศึกษาดนตรีแบบในระบบ ได้แก่ อิทธิพลด้านนโยบาย และแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ อิทธิพลด้านการบัญญัติศัพท์เฉพาะทางดนตรีที่มีต่อสถาบันการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษาของไทย 2) อิทธิพลต่อการศึกษาดนตรีแบบนอกระบบ ได้แก่ อิทธิพลด้านการสอนดนตรี ปรับปรุงวงดนตรีของกรมศิลปากร และดุริยางค์ตำรวจ 3) อิทธิพลต่อการศึกษาดนตรีแบบตามอัธยาศัย ได้แก่ การเปิดโรงเรียนสอนดนตรีเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย การอบรมสั่งสอนทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลงให้ลูกศิษย์ ได้แก่ สง่า อารัมภีร และพันจ่าอากาศเอก มนัส ปิติสานต์

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research article)

References

เขมชาติ เทพไชย. (2557). พระเจนดุริยางค์ : ปูชนียบุคคลดนตรีสากลของไทย. เพลงดนตรี, 20(6), 16.
เจนดุริยางค์, พระ. (2497). บันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
เฉลย ภูมิพันธุ์. (2530). การประสานเสียง. บุรีรัมย์ : ฝ่ายเอกสารตำรา สำนักส่งเสริมวิชาการ สหวิทยาลัยอีสานใต้.
ชญาน์วัต ปัญญาเพชร. (2557). ศิลปะร่วมสมัยไทยภายใต้แนวคิดหลังอาณานิคมในทศวรรษที่ 1990. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2546). ทฤษฎีดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษาหลักการและสาระสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. (2557). สังคีตนิยมความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทีฆา โพธิเวส. (2558, 5 เมษายน). อดีตสารวัตรแผนกดุริยางค์ตำรวจ กองสวัสดิการกรมตำรวจ พ.ศ. 2529–2532 [สัมภาษณ์].
มนตรี ตราโมท. (2516). พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ใน ประวัติครู. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.
มนัส ปิติสานต์. (2558, 28 พฤศจิกายน). ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช 2555 [สัมภาษณ์]
บพิตร เค้าหัน. (2560). อิทธิพลของพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อการศึกษาดนตรีตะวันตกในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บรรจง ชลวิโรจน์. (2542). การประสานเสียง. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ. (2559). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ ประจำปีการศึกษา 2558.กรุงเทพฯ : กองดุริยางค์ทหารอากาศ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน.
ร้านหนังสือลุงทอง. (2559). หนังสือมือสอง: ดนตรี-ศิลปะ.สืบค้นเมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2559, จาก https://www.lungthong.com.
ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2554). พัฒนาการสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). แนวทางการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สถาบันแห่งชาติเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สยามบรรณาคม. (2559). ดนตรี-การละคร. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน พ.ศ. 2559, จาก https://www.digitalrarebook.com.