พุทธนวัตกรรมการพัฒนาระเบียบวินัยของเยาวชนไทย

Main Article Content

สามารถ บุญรัตน์

บทคัดย่อ

     การวิเคราะห์พุทธนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาระเบียบวินัยของเยาวชนไทย จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของเยาวชนไทยมีผลเชิงลบต่อการพัฒนาประเทศ เพราะเยาวชนไทยในปัจจุบันมิได้ให้ความสนใจต่อประเด็นเรื่องระเบียบวินัยมากนัก ในขณะเดียวกันพระพุทธศาสนามีนวัตกรรมที่สำคัญในการพัฒนาความมีระเบียบวินัยของเยาวชนด้วยการมุ่งเน้นคำสอนที่เกี่ยวกับหลักเบญจศีล หรือศีลธรรม เรื่องอบายมุข เรื่องมิจฉาวณิชชา เรื่องการงดเว้นจากอคติ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางระบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวกับสถาบันพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการถือปฏิบัติตามธรรมเนียมที่กำหนดไว้ชุมชน ขั้นที่ 2 การเตรียมการวางรากฐานสำหรับองค์ความรู้ด้านระเบียบวินัยซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่จะส่งเสริมให้สถาบันทางพระพุทธศาสนาทำหน้าที่ในการฝึกฝนอบรม ขัดเกลาให้มีความรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรดี อะไรไม่ดี เป็นต้น ขั้นที่ 3 การป้องกันการละเมิดระเบียบวินัยที่จะต้องเสริมสร้างบทบาททางสังคมแก่พระสงฆ์ในการตักเตือน ชี้นำ ชี้แนะผลของการละเมิดระเบียบวินัย ขั้นที่ 4 การปลูกฝังระเบียบวินัยให้กับเยาวชนไทยโดยเริ่ม จากครอบครัวเป็นหลักใหญ่ที่สามารถปลูกฝังจากจุดเล็กอย่างต่อเนื่องจนสามารถเป็นนิสัยประจำตัวได้ในอนาคต และขั้นที่ 5      การรักษาระเบียบวินัยให้กับเยาวชนไทยที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้าใจบริบทเยาวชนทั้งที่มีระเบียบวินัยและผู้ที่ไม่มีระเบียบวินัยซึ่งจะต้องใช้คำสอนทางพระพุทธศาสนาปรับแต่งพฤติกรรมในทางที่ดีผ่านการออกแบบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น เพราะฉะนั้น การพัฒนาระเบียบวินัยเยาวชนอาจจะธรรมเนียมที่จะต้องถือปฏิบัติกันในชุมชนนั้นๆ ผ่านการวางระบบความสัมพันธ์ระหว่างครอบครับกับสถาบันทางพระพุทธศาสนา เช่น การกำหนดอายุครบบวชสามเณร เป็นต้น อีกทั้งการพัฒนาศักยภาพของพ่อแม่มือใหม่ในการดูแลเยาวชนให้สามารถปฏิบัติตามกรอบระเบียบวินัยที่ดี เยาวชนจึงจะสามารถปรับแต่งชีวิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางคำสอนของพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic article)

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2556). รายงานสถิติคดีประจำปี พ.ศ. 2555 . กรุงเทพมฯ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ.
กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริม ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา.
เจตน์ ตันติวณิชชานนท์. (2559). การศึกษาวิเคราะห์การปลูกฝังจริยธรรมในเยาวชนตามทัศนะของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
นพวัลภ์ คงคาลิหมีนและคณะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการกระทำความผิด กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่มารายงานตัวต่อศาลเยาวชนและครอบครัว จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ปิยธิดา ศรีจินดา. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประพฤติผิดกฎระเบียบของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ. 24(4) : 1.
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ. (2559). การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วารสารรัชต์ภาคย์. 10(20) : 141.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และคณะ. (2559). กระบวนการประชาสังคม“บวร”หลักในการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ 2559 ครั้งที่ 3 The 3rd SAU National Interdisciplinary Conference 2016.
สินกร สินสม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู. (2558). แนวทางการขับเคลื่อนค่านิยมหลัก 12 ประการ สู่การปฏิบัติ ในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2558. หนองบัวลำภู. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1.